"Low-Carb" อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

เทนด์การทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือ Low-carb ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่กลับกลายเป็นความกังวลของผู้เชี่ยวชาญ ว่า การกินที่มีข้อจำกัดมากมายแบบนี้ จะทำร้ายสุขภาพในเวลาต่อมา


สถานการณ์การมะเร็งลำไส้ใหญ่ในปัจจุบัน


มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่มีคนเป็นมากที่สุด ซึ่งจากสถิติชี้ว่า จะเกิดขึ้นในผู้ชาย 1 คนจาก 24 คน และผู้หญิง 1 คนจาก 26 คน

นอกจากนี้ ยังมข้อมูลตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2020 ชี้ว่า พบ มะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่อายุ 30 ถึง 34 ปีเพิ่มขึ้น 71% และในผู้ใหญ่อายุ 35 ถึง 39 ปี เพิ่มขึ้น 58% 

และอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อยู่ที่ 64.4%

แม้ว่าจะไม่มีวิธีรับประกันว่าคนเราจะสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึงร้อยเปอร์เซนต์ แต่ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงของตนเองได้ ด้วยการปรับพฤติกรรบงอยาง เช่น

  • เลิกสูบบุหรี่
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสีสูง
  • จำกัดอาหารแปรรูปและเนื้อแดง



"Low-Carb" อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

สรุปข่าว

นักวิจัยชี้อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

งานวิจัยพบกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำทำให้เป็นมะเร็ง


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ในแคนาดา ได้ทำการศึกษาเพื่อสำรวจว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำจะส่งผลต่อแบคทีเรียที่เชื่อมโยงกับมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างไร

จุดเริ่มต้นของการศึกษานี้มาจากที่นักวิจัยสงสัยว่า อาหารที่แต่ละคนเลือกรับประทานอาจเชื่อมโยงกับการพัฒนามะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงระหว่างประเภทอาหารกับชนิดของแบคทีเรียในลำไส้

พวกเขาให้ความสนใจกับแบคทีเรีย 3 ชนิด ได้แก่ Bacteroides fragilis Helicobacter hepaticus และ E. coli 

พวกเขาทดลองแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดนี้ในร่างกายของหนูทดลอง และพบว่า จุลินทรีย์เหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อ DNA ในเซลล์เยื่อบุลำไส้ ไม่ว่าจะโดยตรงผ่านการผลิตสารพิษทางพันธุกรรม หรือโดยอ้อมผ่านการกระตุ้นสารสื่อกลางการอักเสบที่ทำลาย DNA

จากนั้นก็เริ่มป้อนอาหารประเภทเฉพาะให้หนูเป็นเวลา 9 สัปดาห์ นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบการพัฒนาของติ่งเนื้อ และวัดการพัฒนาของติ่งเนื้ออีกครั้งที่ 16 สัปดาห์

พบว่า เมื่อป้องอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ กับหนูที่มีแบคทีเรีย E. coli หนูมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สอดคล้องกับข้อมูลที่ชี้ว่า  E. coli มีอยู่ใน 60% ของกรณีมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำทำให้ชั้นเมือกในลำไส้ใหญ่ที่ปกป้องจากจุลินทรีย์บางลง ในหนูที่มี E. coli นี้ทำให้ colibactin สามารถเข้าถึงเซลล์ลำไส้ใหญ่ได้ และทำให้เกิดสารพิษทางพันธุกรรมที่ทำลาย DNA

หนูเหล่านี้ยังประสบกับภาวะเซลล์ชรา ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการพัฒนามะเร็ง

โดยรวมแล้ว หนูที่ได้รับอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำร่วมกับ E. coli เกิดการรบกวนและความเสียหายต่อจุลินทรีย์ในลำไส้อย่างมาก จนนักวิจัยพบว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้ว่าผลลัพธ์เหล่านี้จะน่ากังวล นักวิจัยพบว่าการเพิ่มใยอาหารให้กับอาหารของหนูเหล่านี้ช่วยลดการก่อตัวของเนื้องอกและช่วยควบคุมการอักเสบได้

นักวิจัยต้องการศึกษาต่อไปโดยการพิจารณาว่าใยอาหารบางประเภทมีการป้องกันที่ดีขึ้นหรือไม่ และศึกษาผลกระทบต่อมนุษย์ในอนาคตต่อไป

ที่มาข้อมูล : www.medicalnewstoday.com

ที่มารูปภาพ : canva