"คาร์บแปรรูป" อันตรายกว่าที่คิด กินเยอะ สมองอาจมีปัญหา

"คาร์บแปรรูป" อันตรายกว่าที่คิด กินเยอะ สมองอาจมีปัญหา

สรุปข่าว

งานวิจัยใหม่จากฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์ในวารสาร Personality and Individual Differences พบความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังขาวและอาหารที่มีน้ำตาลสูง กับการทำงานของสมองที่แย่ลงเมื่อมีอายุมากขึ้น แม้ในผู้ใหญ่ที่ยังหนุ่มสาวและสุขภาพดี 


โดยงานวิจัยชี้ว่า การบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวาน และโรคอ้วนในภายหลัง

ผู้เข้าร่วมวัย 20-30 ปีจากมหาวิทยาลัยมงเปลิเยร์ได้รับอาหารเช้า 2 ประเภท หนึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังโฮลวีต ผลไม้สด และเนย อีกประเภทหนึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังฝรั่งเศสที่ทำจากแป้งขัดสี และน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาล


น่าสนใจว่า ในกลุ่มที่บริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทันที และการทำงานของสมองลดลงหลังรับประทานอาหาร


ขณะเดียวกัน การบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีเป็นประจำระหว่างมื้ออาหาร ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะควบคุมปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย และการออกกำลังกาย 


สะท้อนให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของอุสาหกรรมอาหารที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่มีการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีเพิ่มขึ้น มีส่วนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย


แม้การศึกษานี้จะยังมีข้อจำกัด  แต่ผลการศึกษา ก็เป็นการย้ำเตือนถึงความสำคัญของการป้องกันโรคเรื้อรังตั้งแต่ยังไม่เกิดอาการ การลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว 


โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาท 


ขณะที่เลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสี หรือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จะดีต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า 


ที่มา: The Futurism

ภาพ: Envato

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

คาร์โบไฮเดรตขัดสี
คาร์บขัดสี
ชอบกินแป้ง
โรคสมอง
ระบบประสาท