"ซึมเศร้า กังวล แพนิค" มนุษย์รู้จักสุขภาพจิตตั้งแต่เมื่อไหร่? | History of Health EP.1

สรุปข่าว



เรื่องราวของสุขภาพจิต เริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อน มนุษย์โบราณเริ่มเข้าใจถึงอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเอง อารมณ์เหล่านี้ ถูกมองว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ ถูกควบคุมโดยเทพเจ้า หรือวิญญาณร้าย เนื่องจากเป็นสิ่งที่มนุษย์โบราณเหล่านั้นเคารพนับถือ หรืออาจเป็นภูมิปัญญาที่พวกเขามีในช่วงเวลานั้น อยากจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพ เช่น

  • อียิปต์โบราณ: เชื่อว่าโรคทางจิตเป็นผลมาจากวิญญาณร้ายเข้าสิง มีการใช้คาถา เวทมนตร์ และยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรค
  • โรมันโบราณ: เชื่อว่าโรคทางจิตเป็นสัญญาณของความอ่อนแอ ผู้ป่วยมักถูกกักขัง หรือถูกเนรเทศ

ในช่วงเวลาที่ศาสนาเริ่มมีบทบาทกับมนุษย์และสังคม ความเชื่อเหล่านี้ก็มีบทบาทสำคัญในการอธิบายและรักษาโรคทางจิตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการมองว่าโรคทางจิตเกิดขึ้นจากบาป หรือเป็นบททดสอบจากพระเจ้าและเกิดขึ้นจากเคราะห์กรรม โดยใช้การรักษาโดยการ สวดมนต์อธิฐาน ขับไล่ปีศาจ ฝึกสติและสมาธิ เพื่อรักษาโรคจิต


เมื่อถึงเวลาที่วิทยาศาสตร์เริ่มเบ่งบาน ความเข้าใจของมนุษย์เรื่องสุขภาพจิตเริ่มเปลี่ยนแปลง

ในศตวรรษที่ 18 ก่อกำเนิดทฤษฎีเรื่องจิตไร้สำนึก โดย Sigmund Freud บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ เขาได้อธิบายทฤษฎีนี้ไว้ว่า ส่วนหนึ่งของจิตใจที่เราไม่สามารถเข้าถึงโดยตรง แต่มีอิทธิพลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเรา 

 

Freud เชื่อว่าประสบการณ์ในวัยเด็กมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับพ่อแม่ สามารถส่งผลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเราในวัยผู้ใหญ่ แนวคิดนี้ช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจที่มาของปัญหาสุขภาพจิต และพัฒนาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

 

Freud เน้นย้ำความสำคัญของการบำบัด เขาเชื่อว่าการพูดคุยกับนักบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหา เผชิญหน้ากับความเจ็บปวด และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้


ศตวรรษที่ 20 เป็นยุคทองของจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาใหม่  ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจสุขภาพจิตได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเรื่องพฤติกรรมที่สังเกตได้ ปัจจัยภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อพฤติกรรมนั้นๆ ความผิดปรกติทางชีวภาพของร่างกายมนุษย์ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน หรือสารเคมีในสมอง 

  • ปัจจุบัน: การวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนายา การบำบัด และวิธีการรักษาใหม่  มากมาย เช่น ยาต้านเศร้า การบำบัดพฤติกรรม จิตบำบัด การรักษาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ