"ดื่มน้ำเปล่า" ช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว จริงหรือ?

"ดื่มน้ำเปล่า" ช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว จริงหรือ?

สรุปข่าว

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไขข้อสงสัย "ดื่มน้ำเปล่า" ช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวจริงหรือ กรมการแพทย์ ชี้แจงแล้ว


กรณีมีคลิปวิดีโอถูกเผยแพร่ในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับดื่มน้ำเปล่าช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า การดื่มน้ำเปล่าช่วงเช้าไม่สามารถป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้ การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต เป็นต้น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์


แต่การดื่มน้ำที่มากเกินไปในคนไข้หัวใจล้มเหลวอาจจะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ ได้แก่ ขาบวมสองข้าง เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ดังนั้นจึงควรจำกัดการดื่มน้ำตามที่แพทย์แนะนำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจำกัดปริมาณโซเดียมที่รับประทาน


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.ccit.go.th หรือโทร. 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การดื่มน้ำเปล่าช่วงเช้าไม่สามารถป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้ และการดื่มน้ำที่มากเกินไปในคนไข้หัวใจล้มเหลวอาจจะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ ดังนั้นจึงควรจำกัดการดื่มน้ำตามที่แพทย์แนะนำ




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

น้ำเปล่า
ดื่มน้ำเปล่า
ภาวะหัวใจล้มเหลว
หัวใจล้มเหลวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม