

สรุปข่าว
วันนี้ ( 11 พ.ย. 65 )ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์ @manopsi เกี่ยวกับกรณี หมอหนุ่มอนาคตไกลรายหนึ่ง ได้เปิดเพจ “สู้ดิวะ” เพื่อแชร์เรื่องราวของตนเองหลังพบว่าป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ทั้งๆที่ตนเองรักษาสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ และ ไม่เคยสูบบุหรี่
โดย ศ.นพ.มานพ โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ว่า Thread ทำความเข้าใจชนิดมะเร็งปอดอย่างง่าย ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะ biology และการตอบสนองต่อการรักษาคือ small cell lung cancer และ non-small cell lung cancer (NSCLC) ซึ่งแบ่งได้อีก 3 ชนิดย่อยได้แก่ adenocarcinoma, squamous cell carcinoma (SCC) และ large cell carcinoma
ทราบมาแต่เดิมว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของมะเร็งปอดคือ สูบบุหรี่ การติดตามข้อมูลมากขึ้นพบปัจจัยเสี่ยงอื่นอีก เช่น ก๊าซเรดอน, สารเคมีบางชนิด (แร่ใยหิน, โลหะหนัก ฯลฯ) และ PM2.5
เดิมเชื่อว่าบุหรี่ไม่สัมพันธ์กับ adenocarcinoma ข้อมูลปัจจุบันพบว่าบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดทุกชนิดพียงแต่ว่าน้ำหนักความเสี่ยงของบุหรี่ต่อ adenocarcinoma น้อยกว่าชนิดอื่น มีความพยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ ด้านนึงเราทราบว่า adenocarcinoma มีสัดส่วนผู้ป่วยหญิงมากกว่าชนิดอื่น มีข้อสังเกตว่าอาจเป็นผลจาก 2nd hand smoker (คนไข้ไม่ได้สูบแต่คนใกล้ชิดสูบ) ซึ่งก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด
ข้อมูลจาก : @manopsi
ภาพจาก : @manopsi
ที่มาข้อมูล : -