

สรุปข่าว
วันงดสูบบุหรี่โลก ถูกกำหนำให้มีขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เพื่อรณรงค์ให้คนตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพทั้งผู้สูบเอง และผู้ไม่สูบบุหรี่ที่เป็นผู้รับบุหรี่มือสอง
สำหรับในปี 2565 นอกจากการรณรงค์ภัยบุหรี่กับสุขภาพแล้ว องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นรณรงค์ “บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม” ที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรการผลิตยาสูบตั้งแต่การทำไร่ยาสูบ การบ่มยาสูบ ขบวนการผลิตภัณฑ์ยาสูบ วัสดุหีบห่อ การบริโภค ไปจนถึงขยะจากยาสูบ

บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากแค่ไหน?
4.5 ล้านล้าน คือ จำนวนก้นบุหรี่ทั้งหมดที่ถูกทิ้งลงทะเล
60,000,000 คือ จำนวนก้นบุหรี่ที่องค์กรอนุรักษ์ทางทะเลของอเมริกา เก็บขึ้นมาจากทะเล นับตั้งแต่ปี 1986
948,327 ตัน คือ จำนวนของสารเคมีที่เป็นพิษที่ถูกปล่อยออกมจากโรงงานผลิตบุหรี่ในสหรัฐฯ
600 ล้าน คือ จำนวนของต้นไม้ที่ถูกโค่นลงทุกปีเพื่อนำมาใช้ในการผลิตม้วนบุหรี่
การเผาไหม้ระหว่างการจุดบุหรี่สูบ ทำให้เกิดพิษในอากาศ ซึ่งในควันบุหรี่ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน รวมๆ แล้ว โลกเรามีผู้สูบบุหรี่อยู่ราว 13,000 คน ซึ่งสามารถสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ 2.6 ล้านตันต่อปี และก๊าซมีเทนอีก 5.2 ล้านตันต่อปี
ส่วนขยะยาสูบ อย่างเช่นก้นบุหรี่ แม้ชิ้นเล็กๆ ก็ยังสามารถนำโรคร้ายกลับมาทำร้ายสิ่งแวดล้อม โดยในก้นบุหรี่ที่มีเศษยาสูบหลงเหลือยู่นั้น ประกอบไปด้วยสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็งอีกกว่า 60 ชนิดและเอทิลฟีนอล ที่สามารถทำให้น้ำเกลือและน้ำสะอาดมีพิษได้
มหาวิทยาลัยแซนดีเอโกในสหรัฐอเมริกา พบขยะจากก้นบุหรี่มากกว่า 4.5 ล้านล้านชิ้นต่อปี อยู่ตามท้องถนน ท่อระบายน้ำ บริเวณชายทะเลและชายหาด ซึ่งเมื่อสารพิษในก้นบุหรี่ละลายลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้น้ำบริเวณดังกล่าวปนเปื้อนและสะสมพิษ มีผลโดยตรงต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่อย่างกุ้ง หอย ปู ปลา และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทำให้ร่างกายของเราสะสมสารเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน เพียงพอที่จะทำให้ทุกคนมีเชื้อมะเร็งอยู่ในร่างกาย

ที่มาข้อมูล : -