
พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 68 กรมอุตุฯ เตือนรับมือผลกระทบ
สภาพอากาศและสาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568 โดยลักษณะของพายุจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และอาจเกิดฟ้าผ่าในบางพื้นที่ เนื่องจากมวลอากาศเย็นจากจีนแผ่ลงมาปกคลุม ทำให้เกิดปฏิกิริยากับอากาศร้อนที่ปกคลุมประเทศไทย

สรุปข่าว
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก “พายุฤดูร้อน”
วันที่ 29 มีนาคม 2568
• ภาคเหนือ: พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์
• ภาคอีสาน: บึงกาฬ, อุดรธานี, สกลนคร, นครพนม, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น ฯลฯ
• ภาคกลาง: ลพบุรี, สระบุรี
• ภาคตะวันออก: นครนายก, สระแก้ว, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
วันที่ 30 มีนาคม 2568
• ภาคเหนือ: ตาก, แพร่, น่าน, อุตรดิตถ์ ฯลฯ
• ภาคอีสาน: เลย, หนองคาย, หนองบัวลำภู, นครพนม ฯลฯ
• ภาคกลาง: นครสวรรค์, ลพบุรี, สระบุรี, อยุธยา ฯลฯ รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล
• ภาคตะวันออก: ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี ฯลฯ
• ภาคใต้: เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 31 มีนาคม - 1 เมษายน 2568
• ภาคเหนือ: เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง
• ภาคกลาง: สุพรรณบุรี, ราชบุรี, นครปฐม ฯลฯ รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล
• ภาคใต้: เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์
คำแนะนำสำหรับประชาชน
1. หลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่พายุฝนฟ้าคะนอง
2. หาที่ปลอดภัย ไม่อยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างไม่แข็งแรง
3. เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายของผลผลิตและสัตว์เลี้ยง
3. ดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบพยากรณ์อากาศที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th หรือโทร 0-2399-4012-13 และ 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มาข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา
ที่มารูปภาพ : AFP

ชญาภา ภักดีศรี