
เพจประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พาไปรู้จักกับ “ผักติ้ว” ซึ่งมีชื่อสามัญว่า ติ้วแต้วติ้วขนติ้วเกลี้ยงร้าเง็ง (สุรินทร์; บุรีรัมย์) ; กุยฉ่องเฉ้า (กะเหรี่ยง) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum วงศ์ : CLUSIACEAE ที่บานสะพรั่งรอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูพาน จ.สกลนคร ซึ่งความสวยงามของดอกผักติ้วที่ออกดอกเป็นช่อคล้ายต้นซากุระของญี่ปุ่น

สรุปข่าว
ติ้ว หรือแต้ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พบมากในป่าเบญจพรรณแถบภาคอีสานมี 2 พันธุ์ คือ ดอกสีขาว กับ ดอกสีชมพู ซึ่งสายพันธุ์ดอกสีชมพูนั้น มักจะมีกลิ่นหอม อ่อนๆ ใบจะมีขนนุ่มๆ ขมกว่าชนิดดอกสีขาวเล็กน้อย เรือนยอดมักเป็นพุ่มกลมเปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดร่องๆ ถ้ามีแผลจะมียางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา ใบรูปไข่กลับรีๆ ยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร โดยลักษณะการแตกของใบจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน
ส่วนผลจะมีรูปทรงรีขนาดเล็กๆ มีนวลบางๆ เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ข้างในมีเมล็ดสีน้ำตาลปนดำอยู่มากออกดอกได้เป็นระยะตลอดปี แต่จะดกเป็นพิเศษในหน้าแล้งราวๆ เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ยอดและใบอ่อนสีชมพูอมแดงสีสันงดงาม
ที่มาข้อมูล : อุทยานแห่งชาติภูพาน - Phu Phan National Park
ที่มารูปภาพ : อุทยานแห่งชาติภูพาน - Phu Phan National Park