พบ "ไมโครพลาสติก" ในรกมารดา งานวิจัยชี้ มีความเชื่อมโยงกับภาวะคลอดก่อนกำหนด

การศึกษาล่าสุดที่นำเสนอในที่ประชุมประจำปีของ Society for Maternal-Fetal Medicine ในเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา พบว่า มลพิษจากไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกในรกของมารดาที่คลอดก่อนกำหนดมีปริมาณสูงกว่ารกของมารดาที่คลอดครบกำหนดอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักวิจัยตรวจพบอนุภาคพลาสติกเฉลี่ย 203 มค.ก./ก. ในรกของการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสูงกว่าการคลอดครบกำหนดที่พบ 130  มค.ก./ก. พลาสติกประเภท PET, PVC, โพลียูรีเทน และโพลีคาร์บอเนตถูกพบมากที่สุด 

พบ "ไมโครพลาสติก" ในรกมารดา งานวิจัยชี้ มีความเชื่อมโยงกับภาวะคลอดก่อนกำหนด

สรุปข่าว

"ไมโครพลาสติก" เป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะพลาสติก ล่าสุดมีการพบ "ไมโครพลาสติก" ในรกของมารดา โดยงานวิจัยชี้บ่งชี้ว่ามีความเชื่อมโยงกับภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเป็นอันตรายกับทารกแรกเกิด
การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของทารกทั่วโลก และสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดประมาณสองในสามยังไม่ทราบแน่ชัด การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่การสะสมของไมโครพลาสติกในรกร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ อาจมีส่วนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างไมโครพลาสติกกับการคลอดก่อนกำหนด

ไมโครพลาสติก เป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะพลาสติก และสามารถพบได้ทั่วโลก ตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์จนถึงมหาสมุทรลึก มนุษย์สามารถรับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายผ่านทางอาหาร น้ำ และการหายใจ ก่อนหน้านี้มีการตรวจพบไมโครพลาสติกในรกตั้งแต่ปี 2020 และยังพบในน้ำอสุจิ น้ำนมแม่ สมอง ตับ และไขกระดูก ซึ่งบ่งชี้ว่าร่างกายมนุษย์มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกอย่างแพร่หลาย

ที่มาข้อมูล : The Guardian

ที่มารูปภาพ : Envato

แท็กบทความ

ไมโครพลาสติกพลาสติก
ทารกแรกเกิด
ภาวะคลอดก่อนกำหนด
ภาวะแทรกซ้อน