โลกร้อนกระทบ “เอเชีย” ทำให้เกิดภัยพิบัติมากที่สุดในโลก

โลกร้อนกระทบ “เอเชีย” ทำให้เกิดภัยพิบัติมากที่สุดในโลก

สรุปข่าว


รายงานสถานะสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียปี 2566 แสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ของสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิพื้นผิว การเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็ง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล โดยในปีพ.ศ. 2566 อันตรายทางอุตุนิยมวิทยาที่รายงานในเอเชียเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมมากถึง 47% และพายุ 39% ตามมาด้วยดินถล่ม อุณหภูมิสุดขีดและไฟป่า 


ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติส่วนมากในภูมิภาคเอเชียเกิดจากน้ำท่วมมากถึง 62% รองลงมาคือพายุ 15% ตามมาด้วยอุณหภูมิสุดขีดซึ่งเป็นได้ทั้งอากาศร้อนจัดและหนาวจัดอีก 8%ซึ่งปีที่แล้วหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เจอหลากหลายปัญหาทางภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่างที่เมียนมาเจอพายุไซโคลนโมคาพัดถล่ม ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง อินเดีย ปากีสถานและเนปาลก็เจอปัญหาน้ำท่วมรุนแรง มีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 600 ราย ที่ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเยเมนก็เจอฝนตกหนักและส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง 


นอกจากนี้ หลายพื้นที่ของเอเชียยังเผชิญเหตุการณ์อากาศร้อนจัดผิดปกติ อย่างเช่น ญี่ปุ่นเผชิญกับฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ จีนประสบเหตุการณ์คลื่นความร้อนสูงถึง 14 ครั้งในฤดูร้อน ทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดในหลายเมือง ในอินเดียและบังกลาเทศเกิดคลื่นความร้อนรุนแรงในเดือนเมษายนและมิถุนายน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดประมาณ 110 ราย  นอกจากนี้พายุหมุนเขตร้อนยังส่งผลกระทบต่อฟิลิปปินส์ เกาหลี จีนและญี่ปุ่นอีกหลายลูกทีเดียว


ซึ่งหลายประเทศต่างก็เจอสภาพอากาศสุดขั้ว ตั้งแต่ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ไปจนถึงน้ำท่วมและพายุ ซึ่งความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านี้รุนแรงขึ้นมากในระยะหลัง ซึ่งแน่นอนว่ากระทบต่อเราในทุก ๆ ด้านทั้งสังคม เศรษฐกิจ และที่สำคัญที่สุด คือชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ด้วยนั่นเอง

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :