จับตาสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะระอุอีกครั้งหรือไม่? วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

จับตาสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะระอุอีกครั้งหรือไม่? วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

สรุปข่าว

 

Gold BullishGold Bearish
ความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนก.ค.
สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีความคืบหน้ามากขึ้น
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น


 

เฟดพร้อมใจสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว

         ราคาทองคำ  สัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวในกรอบ 1,816-1,847 ดอลลาร์ ซึ่งมีทั้งแรงบวกและแรงกดดันที่ส่งผลต่อราคาทองคำ นั่นคือ ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องด้วยการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรง หลังจากเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงได้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนก็ซื้อทองคำเข้ามาในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากที่ธนาคารกลางทั่วโลกพากันขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ บราซิล ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่นๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ในปี 2565 มีอย่างน้อย 45 ประเทศได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูง แต่ก็ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็ส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคและการขยายตัวของธุรกิจ ในทางกลับกันก็ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงและการจ้างงานช้าลงได้ จึงอาจส่งผลต่อความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้กำลังจะเกิดขึ้น

 

จับตาสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะระอุอีกครั้งหรือไม่?

        สงครามรัสเซีย-ยูเครน  ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้ สร้างความเสียหายและผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมแก่ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ขณะที่ยูเครนจะได้รับสถานะประเทศผู้สมัครเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่และอาจจะส่งผลให้รัสเซียไม่พอใจ เนื่องจากก่อนหน้านี้รัสเซียได้เรียกร้องมาตลอดว่าให้ยูเครนมีสถานะเป็นกลาง ซึ่งจะต้องจับตาดูกันต่อไป เพราะสงครามรัสเซียและยูเครนในครั้งนี้ นับว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงขั้วอำนาจ หลังจากที่รัสเซียโดนการคว่ำบาตรจากสหรัฐ ยุโรป และประเทศพันธมิตร รัสเซียก็ได้พยายามเปลี่ยนแปลงทางการค้า เศรษฐกิจ และการเมืองที่สำคัญ โดยการลดพึ่งพาด้านการค้ากับประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับรัสเซียมากขึ้น หันหน้าจับมืออย่างเหนียวแน่นมากขึ้นกับจีน อินเดีย ซึ่งผู้นำรัสเซียเตรียมจะร่วมประชุมกับผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS ในการประชุมสุดยอดประจำปีครั้งที่ 14 ของ BRICS ที่จัดขึ้นทางออนไลน์โดยจีนปีนี้ ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยการประชุมครั้งนี้คาดว่าผู้นำรัสเซียจะเรียกร้องให้จัดตั้งโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซร่วมกับรัสเซีย ลดพึ่งพาพลังงานกับประเทศไม่เป็นมิตร และลดการใช้สกุลเงินดอลลาร์ เพราะรัสเซียมองว่าการใช้เงินดอลลาร์เป็นการทำให้สหรัฐมีอำนาจเหนือกว่าชาติอื่น หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัสเซียถูกตัดออกจากเครือข่ายระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (SWIFT) 

 

         แนวโน้มราคาทองคำคาดเคลื่อนไหว Sideways สัปดาห์นี้สหรัฐเปิดเผยจีดีพีไตรมาส 1 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ตลาดคาดว่าจะขยายตัวลดลง 1.4% จากการประมาณครั้งก่อนที่ขยายตัวลดลง 1.5% นอกจากนี้ติดตามดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานเดือนพ.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านรอปิดการขายเดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. โดย Conference Board ดัชนี PMI

 

         ราคาทองคำมีแนวรับอยู่ที่ 1,820 ดอลลาร์ และ 1,800 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 1,850 ดอลลาร์ และ 1,860 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 30,500 บาท และ 30,400 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 30,900 บาท และ 31,000 บาท



ข้อมูลจาก: ธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง

ภาพประกอบ : AFP , ฮั่วเซ่งเฮง

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ