TNN มีจริงหรือ ? "ต้นไม้เดินได้" เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร

TNN

Tech

มีจริงหรือ ? "ต้นไม้เดินได้" เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร

มีจริงหรือ ? ต้นไม้เดินได้ เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร

มีจริงไหม ! กับต้นไม้เดินได้ หลังมีวิจัยพบว่า มีต้นปาล์มเดินได้ (Walking Tree) ในป่าแอมะซอน เดินได้วันละ 2-3 เซนติเมตร หรือปีละ 20 เมตรเลยทีเดียว

บริเวณป่าฝนในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีเรื่องเล่าถึงต้นไม้ที่ชื่อโซคราที เอ็กโซไรซา (Socratea exorrhiza) หรือชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็คือ ต้นปาล์มเดินได้ นั่นก็เพราะเชื่อว่ามันคือต้นไม้ที่สามารถเดินได้วันละ 2 - 3 เซนติเมตร และในหนึ่งปีก็เคลื่อนที่ได้กว่า 20 เมตรเลยทีเดียว ฟังดูเหมือนเหมือนกับเผ่าพันธุ์ต้นไม้เดินได้อย่าง เอนท์ ในภาพยนตร์ชุดเดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ (The Lord of the Rings) เลยทีเดียว


มีจริงหรือ ? ต้นไม้เดินได้ เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร


ซึ่งความเชื่อนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีมูล เพราะในปี 1980 นักมานุษยวิทยาชื่อจอห์น บอดลีย์ (John H. Bodley) และโฟลีย์ เบนสัน (Foley C. Benson) เผยแพร่รายงานวิทยาศาสตร์ ว่าในป่าแอมะซอน บริเวณประเทศเปรู มีต้นไม้ที่ใช้รากที่งอกอยู่เหนือพื้นดิน ค่อย ๆ เดินออกจากที่ร่มไปรับแสงแดด ลักษณะการเดินเอนลำต้นไปหาแสง จากนั้นก็จะงอกรากใหม่มารองรับเรื่อย ๆ แล้วก็จะปล่อยให้รากเก่าเน่าเปื่อยไป


ซึ่งรายงานนี้ก็ได้กลายไปเป็นข้อมูลที่บรรดาไกด์นำเที่ยวป่าฝนในอเมริกาบอกเล่าให้บรรดานักท่องเที่ยวต่าง ๆ ฟังมาจนถึงปัจจุบัน


คำถามคือ พฤติกรรมที่ดูไม่เหมือนพืชนี้ เกิดขึ้นได้จริงหรือเปล่า ? 


แต่ว่าก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง เช่นในปี 2005 เจราร์โด อวาลอส (Gerardo Avalos) นักนิเวศวิทยาเขตร้อน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนในเมืองอาร์เทนาส (Atenas) ประเทศคอสตาริกา หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกเกี่ยวกับต้น Socratea exorrhiza ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารเกี่ยวกับชีววิทยาเขตร้อนอย่างไบโอทรอปิกา (Biotropica) พบว่าจริง ๆ แล้ว Socratea exorrhiza เดินไม่ได้ จริงอยู่ที่เมื่อมันโดนแรงกระแทกจนต้นเอนเอียง มันก็จะงอกรากใหม่ออกมาเพื่อค้ำยันต้นให้สมดุล และก็สามารถยืดส่วนยอดต้นเพื่อเอนเข้าหาแสงแดดได้ เหมือนกับต้นไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิด แต่บริเวณโคนต้น มันไม่ได้เคลื่อนที่เลย 


ในปี 2007 มีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นเกี่ยวกับหน้าที่ของรากของต้น Socratea exorrhiza ของผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระวิทยาของพืชชื่อ เกรกอรี อาร์. โกลด์สมิธ (Gregory R. Goldsmith) ตีพิมพ์เผยแพร่ออกมา และผลลัพธ์ก็ตรงกับงานวิจัยของอวาลอส นั่นคือ ต้นปาล์มนี้เดินไม่ได้


แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า แล้วหากต้นปาล์มนี้เดินไม่ได้ แล้วทำไมมันจึงมีรากที่อยู่สูงขนาดนี้ ซึ่งหากย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 1960 นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ต้นไม้วิวัฒนาการรากลักษณะนี้ออกมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมากพอจะสนับสนุนแนวคิดนี้


ซึ่งพอมาจนถึงยุคปัจจุบัน นักวิจัยก็ได้แย้งว่า การวิวัฒนาการให้มีรากแบบนี้ นั่นเพราะต้นไม้ต้องการเพิ่มความสูง และเพิ่มความมั่นคง ให้สามารถยืดออกไปรับแสงแดดได้มากขึ้น เพื่อลดพลังงานที่จ่ายให้กับลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียว


ปัจจุบันแม้ว่าต้น Socratea exorrhiza จะยังเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษา และบรรดาไกด์อาจจะยังคงเล่าให้นักท่องเที่ยวฟังว่าเป็นต้นไม้เดินได้ 


ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกดีและก็น่าจะถกเถียงกันต่อ ซึ่งยังไม่สามารถคอนเฟิร์มได้ว่ามันเดินได้จริงหรือไม่ แต่ไม่แน่ ในพื้นที่ที่มนุษย์ยังไม่ค้นพบ อาจจะมีต้นอะไรสักต้นที่กำลังเดินอยู่ก็ได้


มีจริงหรือ ? ต้นไม้เดินได้ เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร

มีจริงหรือ ? ต้นไม้เดินได้ เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร

มีจริงหรือ ? ต้นไม้เดินได้ เคลื่อนที่ได้ปีละ 20 เมตร


ที่มาข้อมูล ScienceAlert, NatureandCultureLivescience

ที่มารูปภาพ Palmpedia

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง