รู้จัก "ไข้ทับระดู" คืออะไร เปิดสาเหตุ อาการเบื้องต้น สาวๆ ต้องระวัง!
รู้จัก "ไข้ทับระดู" คืออะไร เปิดสาเหตุ อาการเบื้องต้น สาวๆ ต้องระวัง!
เชื่อว่าผู้หญิงหลายคน อาจเคยประสบกับอาการป่วยคล้ายไข้หวัดในช่วงที่มีประจำเดือน โดยอาการเหล่านี้เรียกว่า "ไข้ทับระดู" ซึ่งในบทความนี้ TNN ONLINE จะพาคุณไปทำความารู้จักกับไข้ทับระดูให้มากยิ่งขึ้น ว่าเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง
ไข้ทับระดู คืออะไร?
ไข้ทับระดู เป็นอาการป่วยคล้ายไข้หวัดที่มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย อาจทำให้ให้ร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอ ลักษณะอาการคือมักมีไข้ ปวดเนื้อปวดตัว แต่จะสามารถหายไปได้เองใน 2-3 วัน
ไข้ทับระดู เกิดจากอะไร?
สาเหตุ ของไข้ทับระดู เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิง ในช่วงไข่ตกระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะต่ำลง และโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนจะสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน มีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อ่อนเพลีย อ่อนแรง รู้สึกเหมือนมีไข้
ไข้ทับระดู แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
• ไข้ทับระดูไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง โดยแบบนี้มักไม่รุนแรง แต่จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด ผู้ป่วยอาจรู้สึกอ่อนเพลีย และปวดเมื่อยแต่จะหายไปเองภายใน 2-3 วัน
• ไข้ทับระดูที่มีสภาวะโรคแอบแฝง ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดท้องน้อย และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตกขาวร่วมด้วย โดยกรณีนี้ถือเป็นอาการที่รุนแรงควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาที่ถุกต้อง
อาการ ของไข้ทับระดู
สำหรับอาการหลักๆ ของไข้ทับระดู มักมีดังนี้
1. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
2. คลื่นไส้ อาเจียน
3. ปวดศีรษะ
4. ปวดท้อง
5. ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ รวมถึงหลังด้วย
การรักษา
โดยปกติ ไข้ทับระดู ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ อาการจะค่อยๆ ทุเลาลงเองภายใน 1-3 วัน แต่หากมีอาการรุนแรงหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้องน้อยมาก ตกขาวปนหนอง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง
วิธีดูแลตัวเอง
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดื่มน้ำให้มากๆ
3. ทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย
4. ประคบร้อนที่ท้องน้อย
5. ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
6. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับสาวๆ คนไหนที่สงสัยว่าตนเองเป็นไข้ทับระดู ควรสังเกตอาการและดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงหรือไม่แน่ใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์, สสส., pobpad
ข่าวแนะนำ