Editor's Pick: นั่งเครื่องบินยังปลอดภัยอยู่หรือไม่ ?

เกือบครึ่งกลัวการขึ้นเครื่องบิน

Frontiers in Psychology ระบุว่า 40% ของผู้คนกลัวการนั่งเครื่องบิน ซึ่งก็ไม่แปลก อย่างที่เราเห็นกันตามโซเชียลมีเดีย บางครั้งเครื่องบินตก บางครั้งเครื่องบินชนนก บางครั้งเครื่องบินตกหลุมอากาศรุนแรง บางครั้งประตูก็หลุดเสียอย่างนั้น และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ก็เพิ่งเกิดเหตุเครื่องบินโดยสารชนกับเฮลิคอปเตอร์ คาดว่าเสียชีวิตทั้งหมดยกลำ ด้วยอุบัติเหตุทางอากาศเหล่านี้ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมผู้คนกว่าครึ่ง จึงกลัวการนั่งเครื่องบิน

Editor's Pick: นั่งเครื่องบินยังปลอดภัยอยู่หรือไม่ ?

สรุปข่าว

การขึ้นเครื่องบินมีความปลอดภัยกว่าการโดยสารรถยนต์ หากเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากเครื่องบิน และจากรถยนต์ในแต่ละปี อย่างไรก็ตามเครื่องบินจะค่อย ๆ ปลอดภัยขึ้นเรื่อย ๆ

การขึ้นเครื่องบินยังปลอดภัยหรือไม่ ?

ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ระบุว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินทั่วโลกจะปลอดภัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการนั่งเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ อยู่ที่ 1 ต่อ 13.7 ล้านคน จากการเดินทางด้วยเครื่องบินทั่วโลกระหว่างปี 2008-2017 ถือว่าลดลงอย่างมาก หากเทียบกับอัตราส่วน 1 ต่อ 350,000 คน เมื่อช่วงปี 1968-1977 อ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Air Transport Management เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

อาร์โนลด์ บาร์เน็ตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติการการเดินทางทางอากาศ ผู้เขียนงานวิจัยร่วมกล่าวว่า คุณอาจคิดว่า ความเสี่ยงระดับนี้ลดต่ำกว่านี้ไม่ได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตระหว่างการเดินทางทางอากาศยังคงลดลงประมาณ 7% ต่อปี และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 2 เท่าทุก ๆ 10 ปี

นักวิจัยอธิบายว่า แนวโน้มของเที่ยวบินที่ปลอดภัยขึ้นนี้สามารถเข้าใจได้จาก “กฎของมัวร์” ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่ว่า ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมจะหาวิธีเพิ่มพลังการประมวลผลของชิปเป็นสองเท่าทุก ๆ ประมาณ 18 เดือน อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ทีม MIT ชี้ให้เห็นว่า การเดินทางเชิงพาณิชย์มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในทุก ๆ 10 ปีนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960

การขึ้นเครื่องบินปลอดภัยแค่ไหน ?

การเดินทางทางอากาศถือเป็นวิธีเดินทางที่ปลอดภัยแล้ว หากเทียบกับการเดินทางด้วยรถยนต์ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาอย่างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2009 เกิดเหตุเที่ยวบินที่ 3407 ของสายการบิน Colgan Air ตกใกล้เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 49 ราย รวมถึงผู้โดยสารบนพื้นดิน 1 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี 2023 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เกือบ 41,000 ราย ก็ถือว่าผู้เสียชีวิตจากเครื่องบินนั้นน้อยกว่ามาก อ้างอิงข้อมูลของสำนักงานบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ

นี่คือจำนวนผู้เสียชีวิตต่อจำนวนผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องบินพาณิชย์ในช่วงระหว่างปี 1968-2022 จากข้อมูลที่วิเคราะห์โดยนักวิจัย MIT:

1968-1977: 1 ต่อ 350,000

1978-1987: 1 ต่อ 750,000

1988-1997: 1 ต่อ 1.3 ล้านคน

1998-2007: 1 ต่อ 2.7 ล้านคน

2007-2017: 1 ต่อ 7.9 ล้านคน

2018-2022: 1 ต่อ 13.7 ล้านคน


บินประเทศไหนปลอดภัยที่สุด

นักวิจัยจัดอันดับประเทศต่าง ๆ เป็น 3 ระดับอ้างอิงบันทึกความปลอดภัยทางการบิน

ประเทศที่มีความปลอดภัยทางอากาศในระดับสูง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศในสหภาพยุโรป และหลายประเทศในยุโรป เช่น มอนเตเนโกร นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร รวมทั้งออสเตรเลีย แคนาดา จีน อิสราเอล ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์

กลุ่มประเทศ/ดินแดนที่ปลอดภัยรองลงมา ได้แก่ บาห์เรน บอสเนีย บราซิล บรูไน ชิลี ฮ่องกง (ซึ่งมีความแตกต่างจากจีนแผ่นดินใหญ่ในเรื่องกฎระเบียบความปลอดภัยทางอากาศ) อินเดีย จอร์แดน คูเวต มาเลเซีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ กาตาร์ สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากการศึกษาพบว่า ในสองกลุ่มประเทศนี้ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขึ้นเครื่องระหว่างปี 2018-2022 อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 80 ล้านคน

กลุ่มสุดท้ายคือทุกประเทศที่เหลือในโลก มีผู้เสียชีวิต 1 คนต่อผู้โดยสารระหว่างปี 2018-2022 มากกว่ากลุ่มระดับสูงสุดถึง 36.5 เท่า แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากการเดินทางทางอากาศยังคงลดลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี 2018-2022

แท็กบทความ

เครื่องบิน
อุบัติเหตุ
ความปลอดภัย
การเดินทาง
ท่องเที่ยว