
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ในกรณีของการที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐขึ้นภาษีหลายประเทศ โดยไทยถูกเรียกเก็บถึง 36% นั้นมองว่าอาจจะส่งผลกระทบทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าของสหรัฐเกือบทั้งหมด
เนื่องจากสหรัฐฯมีการนำเข้าสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดีมานด์ซัพพลายเชนของโลก ซึ่งประเทศที่โดนเรียกเก็บภาษีเยอะกว่าเพื่อนบ้านอย่างเช่น ประเทศเวียดนาม 46% และประเทศไทย 36%
โดยมองว่ามาตรการรับมืออย่างเเรก เเนะว่าทางรัฐบาลไทยต้องรีบประสานตรงถึงทูตพาณิชย์ทั้งหมด และหน่อยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีภาษีเรียกเก็บนั้นมีการคำนวณยังไงว่าไทยเอาเปรียบภาษีสหรัฐฯถึง 72% ซึ่งเป็นที่มาของการที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีของประเทศไทยถึง 36%
และประเทศไทยควรรีบตั้งรับโดยด่วน โดยเสนอเเนะให้มีการตั้งทีมขึ้นมาเพื่อตรวจสอบทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มานั่งเป็นวอรูมเพื่อจับตาประเด็นนี้โดยเฉพาะ ว่าหลังจากนี้จะมีการเจรจากันอย่างไร

สรุปข่าว
ขณะที่เรื่องของการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของไทยกับบรรดาชาติต่างๆ นั้นมองว่าประเทศคู่ค้าทั่วโลกก็ต้องกลับเจรจากัน โดยเริ่มเห็นการหันหน้ามาเจรจากันไม่ว่าจะเป็น จีนเกาหลี ญี่ปุ่น ว่าจะเกาะกลุ่มกันไปยังไง ซึ่งทางหอการค้าได้เคยคุยมาก่อนหน้านี้แล้ว
ทางด้านการหาตลาดใหม่ๆ ถือว่าสำคัญ โดยมองไปยัง ยุโรปโดนภาษีไปกว่า 20% คาดว่าจะต้องเร่งตัวทำ FCA กับ ประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงในประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลาง ซึ่งเราก็ต้องเร่งมือเช่นกันที่จะทำ FCA กลับทั่วโลกเช่นเดียวกัน
สำหรับเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งก็สำคัญเนื่องจากเป็นเทรนด์ที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลง เเละมองว่าการที่สหรัฐฯเรียกเก็บภาษีคงไม่สามารถทำให้ประเทศเราหยุดชะงักไปได้ และภาครัฐจะต้องเริ่มปรับตัวให้กับผู้ประกอบการที่ส่งออกเพื่อช่วยลดต้นทุนมองว่ามีความสำคัญ ทั้งการปรับปรุงพัฒนาและ อัดฉีดงบประมาณ และปรับปรุงเพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด ปรับตัวขึ้นมาให้เร็วที่สุดโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วย และมองว่านโยบายรัฐทั้งหมดต้องเข้ามาช่วยเกื้อหนุนต้นทุนในการผลิต ทั้งทางด้านพลังงาน ด้านแรงงาน เป็นต้น
“ซึ่งโดยมุมมองคิดว่าการที่สหรัฐฯประกาศภาษีตอบโต้ จะทำให้ไม่มีการส่งออกนำเข้าหายไป ผมมองว่าคงไม่เป็นแบบนั้น เเละตัวเลขในการคิดภาษีของสหรัฐฯ ปัจจุบันนี้มองว่ายังไม่เสถียร แค่ตอนนี้เป็นการประกาศออกมาก่อน ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องเจรจากัน ซึ่งหลังจากตัวเลขเสถียรทุกประเทศแล้ว ถึงจะต้องมานั่งประเมินกันอีกครั้งว่าดีมานด์ซัพพลายเชนโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงดีมานด์ซัพพลายเชนโลกได้มาก ซึ่งสหรัฐฯ ประเทศที่ไทย ส่งออกไปกว่า 18% หรืออันดับที่ 2 ซึ่งเป็นสินค้าบริษัทของสหรัฐฯ เองที่มาลงทุนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ซึ่งต้องส่งกลับไปยังประเทศของตน และอีกส่วนหนึ่งคืออุตสาหกรรมที่ต่างประเทศมาลงทุนในไทยแล้วส่งไปสหรัฐฯ ซึ่งยังต้องศึกษาโดยละเอียดอีกครั้ง แต่ยังมั่นใจว่ากรณีดังกล่าวคงไม่สามารถทำให้ชะลอหรือหยุดการเติบโตของการลงทุนระหว่างประเทศได้” กล่าว
ที่มาข้อมูล : TNN Wealth
ที่มารูปภาพ : TNN Wealth

ธนานันท์ แก้ววิเศษ