
ทางเลือกทางรอดหลังไทยเจอภาษีจัดหนักจากทรัมป์
.
Heavy Tariff ของทรัมป์ประกาศแล้ว
.
โทยโดนจัดเพิ่มหนักๆ 36% สาเหตุที่โดนหนัก ทรัมป์ อ้างว่าเพราะไทยไปเก็บภาษีจากสหรัฐเยอะ 72% (ไม่รู้ว่าอ้างจากสินค้าตัวไหน แต่ที่แน่ๆไม่ใช่ทั้งหมด น่าจะเป็นสินค้าที่ไทยต้องปกป้องอุตสาหกรรมหรือการเกษตรบางอย่างในประเทศ)
ในเมื่อไม่ใช่สินค้าทั้งหมดที่เราไปเก็บ 72% ฉะนั้นแล้วที่ไทยจะโดน 36% ก็ไม่น่าจะต้องเป็นทั้งหมดเช่นกัน (อันนี้ผมยังไม่แน่ใจ)
ผลกระทบต่อ GDP หนักแน่ เอาแค่ที่เคยประเมินไว้ถ้าโดน 15% จะกระทบกับ GDP 1.5% เท่านี้ก็หนักละ นี่มาเจอ 36% ยิ่งหนักเข้าไปกันใหญ่ แต่คงไม่ถึงเกิน 2% หรือถึงขั้นกระทบรุนแรง 3.6% ตามบัญญัติไตรยางศ์
เป็นเพราะทรัมป์จัดเก็บภาษีหนักแบบตอบโต้ถ้วนหน้า คือเกือบทุกประเทศโดนหมด การแข่งขันด้านราคาของแต่ละประเทศจึงไม่น่ารุนแรงมากไปกว่าเดิมเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆคือมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปสหรัฐต้องลดลง เพราะราคาสินค้าบวกภาษีที่สูง หนึ่งกำลังซื้อในสหรัฐจะลดลง และสองสินค้าที่ไทยส่งออกจะถูกทดแทนด้วยสินค้าที่ผลิตในสหรัฐเอง

สรุปข่าว
สิ่งที่ไทยต้องเร่งทำจากนี้ คือ เจรจา เจรจา และเจรจา เพราะตลาดสหรัฐเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทย ปี 2567 ไทยส่งออกไปยังสหรัฐ 5.49 หมื่นล้านเหรียญคิดเป็น 18.3% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และไทยเกินดุลกรค้ากับสหรัฐมากกว่า 3.6 หมื่นล้านเหรียญ
การไปคิดสู้และทำการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสวนกับสหรัฐแบบที่ จีนหรืออียูกำลังจะทำจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ทรงนี้สู้ไปยิ่งตายเปล่า
ไทยต้องยอมเปิดตลาดการค้าของตัวเองต่อสหรัฐให้มากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตร (เช่น หมูเนื้อแดง) สินค้าอุตสาหกรรมหนัก (เครื่องจักร อาวุธสงคราม) การเปิดเสรีด้านต่างๆ รวมไปถึงการร่วมเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความมั่นคงทางทหาร ที่ต้องมีมากขึ้น จะติ๊ดชึ่งทำตัวเป็นกลางรอเก็บกินอย่างแต่ก่อนไม่ได้อีกแล้ว กระนั้นก็ต้องประเมินผลกระทบทั้งได้และเสียให้ดี
นอกจากนั้นต้องเร่ง แสวงหาเพื่อนร่วมปัญหา เจรจาเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างไทยและประเทศคู่ค้าอื่นๆ เพื่อชดเชยตลาดสหรัฐที่กำลังจะหดตัว
เร่งลดการขาดดุลการค้ากับจีนให้ได้ กำแพงภาษีระหว่างไทยกับจีนต้องมีมากขึ้น เพราะจากนี้ไทยจะเกินดุลการค้าสหรัฐน้อยลง (ที่ผ่านมาได้การเกินดุลจากสหรัฐชดเชยกับที่ขาดดุลจากจีน) หากไม่ลดการขาดดุลการค้ากับจีนลงมาในวันนี้ อนาคตก็เตรียมขาดดุลมโหฬาร และไทยจะเข้าสู่สภาวะล้มละลายจนเจ๊งเหมือนอย่างที่หลายประเทศที่พึ่งพาจีนกันเป็นหลักได้เจอกันมา
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ประชาชนในสหรัฐ ต้องเป็นฝ่ายได้รับกระทบ จากการเจอช็อคเวฟ ราคาสินค้านำเข้าทั้งหมดจะพุ่งพรวดขึ้น ขณะที่การผลิตในสหรัฐยังไม่สามารถผลิตทดแทนได้ทัน เงินเฟ้อจะทะยานสวนทางกับกำลังซื้อที่หดตัวอย่างรวดเร็ว เ แม้เกมนี้ทรัมป์บอกจะแก้ด้วยการลดภาษีในประเทศครั้งใหญ่ แต่คลื่นของราคาสินค้านำเข้าแพง ย่อมสร้างความปั่นป่วนแน่นอน ดังนั้นสหรัฐจะต้องมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีเกิดขึ้นแน่ๆ แต่จะเกิดขึ้นกับประเทศไหน อย่างไร ทุกอย่างก็อยู่ที่การเจรจาต่อรอง
ที่มาข้อมูล : ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บล.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
ที่มารูปภาพ : tnn

ธนวัน ปันทะโชติ