"Forever 21" จากร้านแฟชั่นยอดนิยมเบอร์ 1 ที่ขายดีจนมีสาขาไปทั่วโลก วันนี้จบลงที่การล้มละลายรอบ 2 ในสหรัฐ และครั้งนี้อาจจะหนักถึงขั้นต้องเลิกกิจการ
ย้อนกลับไปช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ที่สุด แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นสัญชาติอเมริกันรายนี้ เคยมีรายได้ต่อปีมากกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์ และมีพนักงานกว่า 43,000 คน มีร้านค้ากว่า 800 แห่งทั่วโลก โดย 500 แห่ง ตั้งมั่นอยู่ในสหรัฐอเมริกา
แต่ล่าสุด Forever 21 เข้าสู่ภาวะล้มละลายโดยเอกสารที่ยื่นต่อศาลล้มละลายในเมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแวร์ ระบุว่า บริษัทมีสินทรัพย์ 100-500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สิน 1,000-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
บริษัทขาดทุน 150 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 และคาดว่าจะขาดทุนประมาณ 180 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568
Forever 21 ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1984 โดยสองสามีภรรยาผู้อพยพชาวเกาหลีใต้ โด วอน ชาง (Do Won Chang) และ จิน ซุก ชาง (Jin Sook Chang) ร้านแรกเปิดในลอสแอนเจลิสภายใต้ชื่อ Fashion 21 ก่อนจะรีแบรนด์เป็น Forever 21 และขยายสาขาอย่างรวดเร็ว
Forever 21 เติบโตจากขายเสื้อผ้าแฟชั่นในราคาย่อมเยา ตามแนวคิด"Fast Fashion จนประสบความสำเร็จ สามารถขยายสาขาไปทั่วโลก โดยในช่วงพีคสุด บริษัทมีรายได้ต่อปีมากกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์ และมีพนักงานกว่า 43,000 คน มีร้านค้าประมาณ 800 แห่งทั่วโลก โดย 500 แห่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา
แต่อย่างไรก็ตามการขยายสาขาไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายสำคัญ และจุดเริ่มต้นของปัญหาในธุรกิจ เพราะแต่ละตลาดมีความแตกต่างกันมาก และการเร่งการขยายร้านค้าขนาดใหญ่
ทำให้แบรนด์มีต้นทุนสูง สวนทางกลับยอดขายที่ไม่เป็นไปตามคาด และยังเจอกับกระแส Sustainable Fashionที่ทำให้ Fast Fashion ถูกตั้งคำถามเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญที่สุด คือ การไปเจอกับตัวเปลี่ยนเกมของโลกแฟชั่น นั่นคือตลาดออนไลน์ และสินค้าจากจีน ที่การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง คนใหม่หันต่างพากันไปชอปเสื้อผ้าออนไลน์มากขึ้น
ขณะที่บริษัทเองก็มีปัญหาทางการเงินและคดีความ เช่น การฟ้องร้องจากแบรนด์ดัง เรื่องลิขสิทธิ์ บวกกับการบริหารเงินสดผิดพลาด ทำให้มีหนี้สินเป็นจำนวนมาก
สรุปข่าว
Forever 21 มีสาขากระจายไปทั่วโลก แต่วันนี้ที่เจอกับวิกฤตหนัก คือ ต้นกำเนิดในสหรัฐเอง ล่าสุดได้ยื่นฟ้องล้มละลายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 6 ปี และเตรียมที่จะขายกิจการทิ้ง
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อ 16 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัท Forever 21 ในสหรัฐอเมริกาได้ยื่นฟ้องล้มละลายเป็นครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 6 ปี พร้อมประกาศว่าจะยุติการดำเนินงานในประเทศ
โดยระบุว่าได้รับผลกระทบจากการแข่งขันทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ในภาคธุรกิจฟาสต์แฟชั่น รวมถึงจำนวนคนเดินห้างสรรพสินค้าน้อยลง
นอกจากนี้ บริษัทยังกล่าวโทษสถานการณ์นี้ว่า เป็นผลจากต้นทุนที่สูงขึ้น และยังเจอกับคู่แข่งสำคัญ คือสินค้าราคาถูกจากจีนที่ทะลักเข้ามาผ่านทาง E-Commerce ตลาดออนไลน์ ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าได้ตามเหมาะสม
แบรด เซลล์ หัวหน้าฝ่ายการเงินของบริษัท ที่บริหารจัดการร้านค้า Forever 21 จำนวน 354 แห่งในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า บริษัทไม่สามารถหาหนทางที่ยั่งยืนต่อไปได้
เนื่องจากมีการแข่งขันจากบริษัทแฟชั่นฟาสต์แฟชั่นจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า De minimis หมายถึงการยกเว้นภาษีศุลกากร และขั้นตอนศุลกากรของสหรัฐฯ สำหรับสินค้าที่นำเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญสหรัฐ เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผู้ค้าปลีกออนไลน์ในจีน เช่น Shein และ Temu สามารถขายของได้ถูกเป็นพิเศษได้
ทั้งนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า Forever 21 เข้าสู่ภาวะล้มละลายโดยเอกสารที่ยื่นต่อศาลล้มละลายในเมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแวร์ ระบุว่า บริษัทมีสินทรัพย์ 100-500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สิน 1,000-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทขาดทุน 150 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 และคาดว่าจะขาดทุนประมาณ 180 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568
อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำว่าการยื่นล้มละลายครั้งนี้เป็นเฉพาะธุรกิจในสหรัฐเท่านั้น สาขาของ Forever 21 ภายนอกประเทศสหรัฐ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทอื่นๆนั้น ไม่ได้รวมอยู่ในแผนการครั้งนี้แต่อย่างใด
การล้มแล้วอีก คือ คำนิยามสำหรับForever 21 ในวันนี้ เป็นภาพสะท้อนชัดเจนว่า ค้าปลีกแฟชั่นกำลังจะตาย จากอีคอมเมิร์ซ และสินค้าจีน
หลังจากนี้ไป Forever 21 ระบุว่าจะดำเนินการ ‘ลดราคาสินค้าครั้งใหญ่’ เพื่อล้างสต็อกที่ร้านค้า เพื่อปิดร้านค้าที่สาขาทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และขายกิจการ ในสหรัฐอเมริกาบางส่วนหรือทั้งหมดต่อไป ขณะที่ร้านค้าต่างประเทศของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากการล้มละลาย
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ Forever 21 เคยยื่นฟ้องล้มละลายเมื่อปี 2562 และถูกซื้อโดย Sparc Group ตอนแรกบริษัทฟื้นตัวขึ้นได้ในระยะสั้นๆ ก่อนที่การขาดทุนจะเริ่มสะสมอีกครั้งในปีถัดมา กระทั่งในปี 2023 Shein ได้เข้าซื้อหุ้นในกลุ่ม Sparc ในข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นหุ้นส่วน ทำให้ Forever 21 สามารถขายสินค้าบางรายการบนเว็บไซต์ของ Shein ได้ แต่ก็ไม่ทำให้หลุดจากการขาดทุนได้อยู่ดี
ก่อนมาสู่ยุคปัจจุบันที่ Forever 21 เป็นเจ้าของโดย Catalyst Brands ซึ่งเป็นบริษัทที่มาจากการควบรวมกิจการ ระหว่าง Sparc และ JC Penney
"Forever 21" นับเป็นหนึ่งแบรนด์แฟชั่นสัญชาติอเมริกัน ที่เคยรุ่งเรืองสุดๆ แต่วันนี้ก็ลงจุดที่ต่ำสุดเช่นกัน แม้จะใช้ชื่อฟอร์เอเวอร์ แต่ก็ไม่อาจสู้ศึกนี้ได้ตลอดไป เพราะวันนี้ แพ้ให้กับออนไลน์ และตลาดจีนไปอีกหนึ่งราย
ที่มารูปภาพ : TNN Freepik canva

ทิฆัมพร อยู่กำเหนิด