ผลสำรวจไทยต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

บริษัทโกโกลุก (Gogolook) บริษัทชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech)ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ร่วมกับ Viu ผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (OTT) ชัั้นนำระดับภูมิภาคผนึกความร่วมมือระดับภูมิภาคกระตุกต่อมเตือนภัยร่วมปกป้องประชาชนในอาเซียนจากภัยออนไลน์มิจฉาชีพ


ความร่วมมือนี้สอดคล้องกับรายงานวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย the Global Anti-Scam Alliance (GASA) ร่วมกับ Whoscall และ ScamAdviser ที่ระบุว่ากว่า 40% ของประชากรในอาเซียนต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยมาเลเชียและฟิลิปปินส์ที่ปริมาณและรูปแบบการหลอกลวงของมิจฉาชีพยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ Whoscall ได้จัดทำหนังสั้นในรูปแบบของมินิซีรีส์ที่สามารถรับชมได้บนแพลตฟอร์มของViuและnาง Youtube ของ Whoscall Global พร้อมมอบสิทธิพิเศษข้ามแพลตฟอร์มแจกฟรีบริการ Whoscall พรีเมียม และViu พรีเมียม ให้แก่ผู้ใช้งานในประเทศไทยมาเลเซียและฟิลิปปินส์


รูปแบบกลลวงมิจฉาชีพและความถี่ของการหลอกลวงคงอยู่อย่างแพร่หลายทั่วเอเชีย 

รายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2567 (Asia Scams in Thailand 2024) ที่จัดทำโดย GASA สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การหลอกลวงทั่วภูมิภาคยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยข้อมูลที่น่าสนใจจากประเทศไทยมาเลเซียและฟิลิปปินส์มีดังนี้

    กว่า 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วภูมิภาคเผยว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพทุกเดือน และเกือบ 30% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการติดต่อ

    89% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยต้องรับมือกับมิจฉาชีพสูงสุดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งตามด้วยมาเลเซีย 74% และฟิลิปปินส์ 67% 

    ผู้เสียหายใน 3 ประเทศตกเป็นเหยื่อจากการถูกหลอกซ้ำซ้อนอย่างน้อย 2 ครั้ง

    การให้โอนเงินผ่านธนาคารเป็นช่องทางการหลอกลวงที่ถูกใช้มากที่สุดโดยกว่า 86% ของผู้เสียหายในไทยและ 50 % ในมาเลเซียถูกหลอกให้โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่กว่า 70% ถูกหลอกให้โอนเงินผ่านกระเป๋าตังค์ออนไลน์หรืออี-วอลเล็ต

    การหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นรูปแบบที่พบอย่างแพร่หลายในไทยและมาเลเซีย ในขณะที่การส่งข้อความบนมือถือถูกพบมากที่สุดในฟิลิปปินส์

    สาเหตุในการถูกหลอกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศโดย 22% ของผู้เสียหายในไทยหลงเชื่อในข้อเสนอที่น่าสนใจ 28% ของผู้เสียหายในฟิลิปปินส์ตัดสินใจเร็วเกินไปและ 21% ของผู้เสียหายในมาเลเซียเลือกที่จะยอมรับความเสี่ยง

    เทคโนโลยี AI ถูกนำเข้ามาใช้ในการเชียนข้อความและส่ง SMS เยอะขึ้นทั่วภูมิภาคโดยผู้ตอบแบบสอบถามถึง 72% ในฟิลิปปินส์เคยตกเป็นเป้าหมายของเทคนิคกลลวงที่ใช้ AI ตามด้วย 51% ในไทยและ 50 % ในมาเลเซีย

    การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหลอกให้ลงทุนและหลอกให้ซิ้อสินค้าเป็นกลโกง 3 อันดับแรกในทั้ง 3 ประเทศ

นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด (Global Marketing) บริษัทโกโกลุกกล่าวว่า“การหลอกลวงจากมิจฉาชีพทั้งออนไลน์และทางโทรศัพท์ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในประเทศไทยมาเลเซียและฟิลิปปินส์ส่งผลกระทบทั้งต่อบุคคลและองค์กรซึ่งอาจจะเกิดจากหลากปัจจัยเช่นวิวัฒนาการของการหลอกลวงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นรวมไปถึงความรู้เท่าทันและความพร้อมของประชาชนในการรับมือกับภัยมิจฉาชีพที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ Whoscall จึงได้ร่วมกับ Viu ผสานความร่วมมือในระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรกเพื่อติดอาวุธทางปัญญาพร้อมทั้งมอบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมเกราะป้องกันภัยจากกลลวงมิจฉาชีพให้ครอบคลุมประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯในการทำงานเชิงรุกให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานฟีเจอร์ที่ผสานเทคโนโลยี AI บนแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันภัยจากมิจฉาชีพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและใช้แพลตฟอร์มของViu เพื่อส่งมอบความรู้และปกป้องผู้บริโภคให้มีความรู้เท่าทันและอยู่เหนือกลโกงในทุกรูปแบบ”


นายอรรถสิทธิ์ บูรณะธีรกิจ Head Of Commercial Viu Thailand กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างเรากับWhoscallถือเป็นก้าวสำคัญเพื่อส่งมอบความรู้ผ่านผลิตสื่อดิจิทัล ควบคู่ไปกับการส่งมอบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการหลอกลวงทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงผู้ใช้หลายล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราหวังว่าจะได้ทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับWhoscall  ในอนาคตในการจัดกิจกรรมและนำเสนอคอนเท้นท์อันหลากหลายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามในโลกออนไลน์และการป้องกันที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ชมของเรา” 


สิทธิพิเศษสำหรับผู้ใช้งาน Whoscall และ Viu

    มินิซีรีส์เรื่อง The Mask ออกอากาศบนแพลตฟอร์มViuเป็นสารคดีแนวอาชญากรรมในรูปแบบของมินิซีรีส์จำนวน 3 ตอนที่ Whoscall ได้ดำเนินการผลิตร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซียที่ถ่ายทอดเหตุการณ์จริงของผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ โดยแต่ละตอนจะมีการดำเนินเรื่องผ่านตัวละครหลักที่เล่าถึงการเผชิญหน้าและผลกระทบที่ได้รับจากกลลวงมิจฉาชีพเช่นการถูกหลอกให้เปิดบัญชีม้า (mule account scam)  หลอกให้รักโรแมนซ์สแกม (romance scam) และหลอกให้ลงทุน (investment scam) เพื่อเตือนภัยและเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้รับชมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหายจากการหลอกลวง โดยสามารถรับชมได้ที่https://www.youtube.com/@whoscallGlobal/videos


ผลสำรวจไทยต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

สรุปข่าว

ที่มาข้อมูล : TNN

ที่มารูปภาพ : canva

แท็กบทความ

โกโกลุก
Viu
ScamAdviser
whoscall
อี-วอลเล็ต