

สรุปข่าว
วันนี้ ( 19 ก.พ. 67 )ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำ 7 จุดสังเกต ธนบัตรของจริงที่มีลักษณะพิเศษยากต่อการปลอมแปลง แต่ง่ายต่อการสังเกตและตรวจสอบ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีการ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง เพื่อความมั่นใจว่าไม่ใช่ แบงก์ปลอม ควรตรวจสอบอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป
สำหรับ 7 จุดสังเกต ธนบัตรของจริงที่มีลักษณะพิเศษยากต่อการปลอมแปลง คือ
1.สัมผัสเนื้อกระดาษ ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายมีความทนทาน ไม่ยุ่ยง่าย สัมผัสแล้วจะรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป
2.สัมผัสลวดลายเส้นนูนบนธนบัตร
3.ยกส่องลายน้ำ เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ
4.ยกส่อง พลิกเอียง ดูแถบสี แถบสีจะฝังในเนื้อกระดาษ เมื่อยกส่องจะเห็นเป็นเส้นตรง เมื่อพลิกเอียงจะสลับสีไปมา
5.พลิกเอียง - หมึกพิมพ์แม่เหล็ก 3 มิติ แบงก์จริงต้องกลิ้งได้ เช่น (1)แบงก์ 1000 ลายดอกพิกุลสีทองจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว และรูปวงกลมเคลื่อนไหวไปมา (2) แบงก์ 500 ลายดอกจอกสีทอง จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว และรูปสี่เหลี่ยมเคลื่อนไหวไปมา (3)แบงก์ 100 ลายดอกห้ากลีบสีทอง เป็นประกายระยิบระยับ
6.ตัวเลขแฝง ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
7.ส่องใต้รังสีเหนือม่วง มีจะลักษณะพิเศษปรากฎให้เห็น
ภาพจาก: AFP
ที่มาข้อมูล : -