“เห็ดพิษ” อันตรายถึงชีวิต! แบบไหนทานได้-ไม่ได้ เช็กอาการ วิธีปฐมพยาบาล

จากสภาพอากาศที่เริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ส่งผลให้มีเห็ดป่าหรือเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งที่กินได้และเป็นเห็ดพิษ ทั้งที่กินได้และเป็นเห็ดพิษ โดยเฉพาะเห็ดในระยะดอกตูมซึ่งมักมีลักษณะคล้ายกันจนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่าได้ หากไม่มีความรู้หรือความชำนาญอาจทำให้เข้าใจผิดและนำเห็ดพิษมาประกอบอาหารจนเกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้

“เห็ดพิษ” อันตรายถึงชีวิต! แบบไหนทานได้-ไม่ได้ เช็กอาการ วิธีปฐมพยาบาล

สรุปข่าว

สธ.เตือนประชาชน ทาน “เห็ดพิษ” เห็ดป่า เห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เสี่ยงตายแนะยึดหลัก “เห็ด ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน” แนะวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานถึงเห็ดพิษที่เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่พบบ่อย คือ เห็ดระโงกพิษ บางแห่งเรียกเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือเห็ดไข่ตายซาก เห็ดพิษชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับเห็ดระโงกขาว หรือเห็ดไข่ห่านซึ่งเป็นเห็ดกินได้ แตกต่างกันที่เห็ดระโงกขาวกินได้จะมีรอยขีดสั้นๆ เหมือนกับซี่หวีที่ผิวรอบขอบหมวก เมื่อผ่าก้านจะเห็นว่าก้านกลวง เห็ดระโงกพบมากช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม มักพบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าที่มีลักษณะค่อนข้างโปร่ง มีแสงแดดส่องถึงพื้นล่าง 

ที่สำคัญ คือ มีไม้วงศ์ยางนา เช่น ยางนา ตะเคียน กระบาก รัง พะยอม หลังกินเห็ดระโงกพิษมักไม่เกิดอาการทันทีแต่จะมีอาการหลัง 4 - 6 ชั่วโมงไปแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์แม้อาการจะดีขึ้นในช่วงแรกก็ตาม เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที พิษอาจทำลายตับและทำให้เสียชีวิตได้แม้กินเพียงดอกเดียว 

ส่วนเห็ดถ่านเลือด ดอกจะมีขนาดใหญ่และหนา หลังดอกมีสีดำเล็กน้อย เมื่อหักก้านเนื้อสีขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีแดงชาวบ้านจึงเรียกว่าเห็ดถ่านเลือด มี

ลักษณะคล้ายเห็ดถ่านใหญ่และเห็ดถ่านเล็ก พบมากช่วงเดือนกรกฎาคมมักขึ้นใต้ต้นเหียง (ซาด) และต้นพะยอม หากรับประทานเข้าไปภายใน 2 ชั่วโมงจะเกิดอาการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร หลังจาก 6 ชั่วโมง จะมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย จนกระทั่งตับและไตวายและเสียชีวิตได้

อาการหลังกินเห็ดพิษมีตั้งแต่เล็กน้อย ได้แก่ 

วิงเวียน อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวจนถึงอาการรุนแรง ไตวาย ตับวาย และเสียชีวิต 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

หากที่บ้านมีผงถ่านกัมมันต์หรือผงคาร์บอนให้รีบกินเพื่อดูดซับพิษและจิบน้ำเพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไป ที่สำคัญควรรีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด พร้อมแจ้งประวัติการกินเห็ดและนำตัวอย่างเห็ดที่เหลือหรือภาพถ่ายเห็ดไปด้วย 

นอกจากนั้น ไม่ควรกระตุ้นให้อาเจียน เช่น การล้วงคอหรือกินไข่ขาวดิบเพราะอาจทำให้สำลัก เกิดการติดเชื้อ เกิดแผลในคอและช่องปาก รวมถึงความดันต่ำหรือระดับเกลือแร่ผิดปกติจากการอาเจียนที่มากเกินไป เนื่องจากพิษจากเห็ดทำให้อาเจียนมากอยู่แล้ว


เห็ดแบบไหนทานได้ / ไม่ได้

เห็ดพิษ

-เห็ดโคน
-เห็ดระโงกเหลือง
-เห็ดระโงกหิน
-เห็ดกระโดงตีนตัน
-เห็ดขี้ควาย
-เห็ดตอมกล้วยแห้ง
-เห็ดข่า
-เห็ดมันปูใหญ่
-เห็ดไข่หงส์
-เห็ดไข่
-เห็ดดอกกระถิน
-เห็ดโคนส้ม
-เห็ดเผาะ(มีราก)
-เห็ดขี้วัว
-เห็ดแดงก้านแดง

เห็ดกินได้

-เห็ดกุหลาบ
-เห็ดระโงกขาว
-เห็ดไข่นก
-เห็ดก่อ
-เห็ดกูด
-เห็นตับเต่า
-เห็ดพุงหมู
-เห็ดขาวเหนียว
-เห็ดน้ำแข็ง
-เห็ดเผาะ(ไม่มีราก)
-เห็ดจั่น
-เห็ดไข่
-เห็ดโคน
-เห็ดโคนฟาน
-เห็ดมันปู
-เห็ดหล่มกระเขียว



ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "เห็ดพิษ กับ เห็ดกินได้" มีอะไรบ้าง? ลักษณะแบบไหน ที่ควรหลีกเลี่ยง

- รู้จัก "เห็ดขี้ควาย" หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5 กินแล้วเมา ประสาทหลอน

ที่มาข้อมูล : รัฐบาล/กรมควบคุมโรค

ที่มารูปภาพ : Getty Images/กรมควบคุมโรค

แท็กบทความ

เห็ด
เห็ดพิษ
เห็ดกินได้
เห็ดป่า
กินเห็ดพิษ
อาการ เห็ดพิษ