รู้จักพิธี “ปอยส่างลอง” ประเพณีเก่าแก่ของชาวไทใหญ่ ที่สืบทอดกันมานานหลายร้อยปี

ขบวนแห่อันรื่นเริง เด็กชายหลายสิบคน แต่งกายประดับประดาไปด้วยดอกไม้ อัญมณี เสื้อผ้าสีสันสดใส นี่คือ เทศกาล “ปอยส่างลอง” หรือ “บวชลูกแก้ว”  


ประเพณีทางศาสนาพุทธอันเก่าแก่ของชาวไทใหญ่ หรือ ชาวฉาน ที่สืบทอดกันมาหลายศตวรรษ 


โดยจะให้เด็กชาย ผู้มีเชื้อสายไทใหญ่ อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป มาบวชเป็นสามเณร เพื่อเรียนรู้หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา 


“ผมตัดสินใจเองครับ…รู้สึกดีใจที่ได้บวช” ดลภัทร ลุงตะ ผู้เข้าร่วมพิธี “ปอยส่างลอง” กล่าวกับสำนักข่าว AFP 

รู้จักพิธี “ปอยส่างลอง” ประเพณีเก่าแก่ของชาวไทใหญ่ ที่สืบทอดกันมานานหลายร้อยปี

สรุปข่าว

พิธี “ปอยส่างลอง” แปลว่า “การบวชลูกชายสุดที่รัก” ถือเป็นพิธีกรรม 3 วันที่มีชีวิตชีวา ก่อนที่ลูกชายจะเข้าสู่ชีวิตนักบวชเป็นเวลา 3 วันถึง 1 เดือน เชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่นำพาความดีและโชคลาภมาให้ ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

พิธี “ปอยส่างลอง”  แปลว่า “การบวชลูกชายสุดที่รัก” ถือเป็นพิธีกรรม 3 วันที่มีชีวิตชีวา ก่อนที่ลูกชายจะเข้าสู่ชีวิตนักบวชเป็นเวลา 3 วันถึง 1 เดือน เชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่นำพาความดีและโชคลาภมาให้ ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 


“ถ้าเอาลูกไปบวช เหมือนเป็นลูกศิษย์ของพุทธศาสนา หรือ ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า อันนั้นก็คือว่า เป็นบุญที่สุดแล้ว” ไชยา คงชื่น นายกสมาคมการศึกษาและวัฒนธรรมไทยใหญ่ กล่าว  


เครื่องแต่งกายที่วิจิตรบรรจงนี้ เป็นสัญลักษณ์ของเจ้าชายจากประวัติศาสตร์เมียนมา ในขณะที่ การอุ้มเด็กชายไว้บนไหล่ และแห่ไปรอบ ๆ วัด หมายถึงอำนาจและสถานะกึ่งเทพ 


ด้านพ่อของดลภัทร เผยว่า พิธีนี้ ถือเป็นการลงทุนอันล้ำค่า สำหรับอนาคตของลูกชาย ไม่ว่า เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน 


เขาได้ใช้เงินไปกับพิธีกรรมราว 150,000 บาท ซึ่งรวมทั้งค่าอาหาร และเครื่องแต่งกาย โดยญาติของเขาช่วยออกค่าใช้จ่ายด้วย


“เมื่อก่อนนี้ มันเป็นประเพณี รุ่นสู่รุ่นมา ปู่ย่า ทวด ก็พอมาถึงรุ่นเรา เรามีลูกมา เราก็เอามาบวช แบบที่เราบวชมา” 


“ผมหวังให้เขาเป็นคนดี เพราะว่า การบวชทำให้เด็กมีจิตสำนึกไปทางที่ดี และก็มีความเผื่อแผ่ไปสู่คนอื่น ไม่ให้ปองร้ายใคร” พ่อของดลภัทร กล่าว  

ส่วนใหญ่ ประเพณีจะจัดขึ้นที่วัดกู่เต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยปีนี้ มีเด็กชายประมาณ 40 คน ที่เข้าร่วมพิธี 


ชาวฉานหลายหมื่นคน อพยพมายังประเทศไทยนานหลายสิบปี ในช่วงที่ประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการ 


ประเพณีนี้ช่วยให้พวกเขายังมีความเชื่อมโยงกับรากเหง้าของบรรพบุรษ แม้ว่า พวกเขาจะอาศัยอยู่ประเทศอื่น ที่ไม่ใช่บ้านเกิดของพวกเขาก็ตาม 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง: 


Flowers in their hair: Shan boys ordained into Buddhist monkhood - AFP

ที่มาข้อมูล : AFP

ที่มารูปภาพ : AFP

แท็กบทความ

ปอยส่างลอง
ประเพณีไทย
ชาวไทใหญ่
ชาวฉาน
บวชลูกแก้ว