
บริษัท บลู ออริจิน (Blue Origin) บริษัทด้านอวกาศของ เจฟฟ์ เบโซส (Jeff Bezos) ประกาศความพร้อมสำหรับการปล่อยจรวดเมกะร็อกเก็ต หรือจรวดขนาดใหญ่ที่ใช้ในการส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร นิว เกล็น (Mega Rocket New Glenn) ครั้งที่สอง ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนนี้ และได้รับอนุมัติการปล่อยจรวดจาก FAA แล้วก่อนที่เดิมทีมีกำหนดปล่อยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ต้องเลื่อนไปสืบเนื่องจากการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปล่อยจรวดครั้งแรก

สรุปข่าว
จรวดนิว เกล็น (New Glenn) นับว่าเป็นจรวดลำแรกของบริษัท บลู ออริจิน ที่มีความสามารถในการเข้าสู่วงโคจรรอบโลกได้สำเร็จ และบริษัท มีความประสงค์ที่จะใช้จรวดดังกล่าวในการปฏิบัติภารกิจสำรวจอวกาศในระยะทางที่ไกลยิ่งขึ้น การทดสอบและพิสูจน์ความสามารถของจรวดดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทนำในตลาดการปล่อยจรวด
จรวดนิว เกล็น (New Glenn) มีความสูง 98 เมตร ได้รับการพัฒนามาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว แต่ประสบกับความล่าช้าหลายครั้ง ในการพัฒนาเพื่อให้พร้อมสำหรับการปล่อยจริงจนกระทั่งได้ดำเนินการทดสอบการปล่อยจรวดครั้งแรกในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยพบว่าส่วนพบว่าจรวดท่อนที่สอง (Second Stage) มีการดับเครื่องยนต์ครั้งแรก (First Engine Cutoff หรือ FECO) หลังจากการปล่อยประมาณ 13 นาที แต่ก็สามารถเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ แต่เครื่องยนต์สามเครื่อง (Third Stage) ของบูสเตอร์ หรือเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานในสภาวะสูญญากาศ และใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว ไม่สามารถจุดเครื่องยนต์ได้ตามที่กำหนดขณะที่จรวดเดินทางกลับสู่โลก
โดยบริษัท บลู ออริจิน (Blue Origin) ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า สาเหตุของความล้มเหลวในการลงจอดของจรวดนิว เกล็น (New Glenn) ในการทดสอบเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาเกิดจากเครื่องยนต์ BE-4 สามเครื่องของจรวดไม่สามารถจุดติดใหม่ได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ได้ให้รายละเอียดทางเทคนิคเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน สำนักงานบริหารการบินแห่งสหพันธรัฐ (FAA) ได้ปิดการสืบสวนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และยืนยันว่า จะตรวจสอบให้แน่ใจว่า Blue Origin ดำเนินการแก้ไขก่อนการปล่อยจรวดนิว เกล็นครั้งถัดไป
เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2025 ผ่านมา บริษัท บลู ออริจิน เปิดเผยว่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของจรวด New Glenn Blue Origin มีมาตรการการแก้ไขทั้งเจ็ดจุดที่บกพร่อง โดยมาตรการเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การจัดการเชื้อเพลิงและการควบคุมการระบายเครื่องยนต์เป็นหลัก และข้อมูลดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามกระบวนการที่กำหนดแล้ว บริษัท บลู ออริจิน จึงมีแผนที่จะดำเนินการทดสอบการลงจอดบูสเตอร์อีกครั้งในการปล่อยจรวดนิว เกล็น ครั้งที่สอง หากการทดสอบประสบความสำเร็จ จะถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาระบบจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการสำรวจอวกาศในอนาคต
การพัฒนาจรวดนิว เกล็น เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของบริษัท บลู ออริจิน ในการแข่งขันในตลาดการปล่อยจรวดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะให้บริการการขนส่งสู่อวกาศที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพแก่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ที่มารูปภาพ : Blue Origin

ณัฐศักดิ์ อนุตรโพธิ์แก้ว