รู้หรือไม่! ดวงอาทิตย์ของเรามีเสียงด้วยนะ

รู้หรือไม่! ดวงอาทิตย์ของเรามีเสียงด้วยนะ แค่เราไม่ได้ยินเท่านั้นเอง


หากถามว่าแล้วทำไมเราถึงไม่ได้ยิน เหตุผลก็เพราะความยาวคลื่นของคลื่นความดันจากดวงอาทิตย์อยู่นอกเหนือช่วงคลื่นที่มนุษย์สามารถที่จะได้ยินได้


คลื่นจากดวงอาทิตย์เหล่านี้ เกิดจากก้อนแก๊สร้อนขนาดมหึมา ที่ลอยขึ้นมาจากใต้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ และทะลุผ่านพื้นผิวของดวงอาทิตย์ เหตุการณ์นี้คือเหตุผลที่ทำให้ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์เดือดพล่านเหมือนกับน้ำเดือดในกระทะ 

รู้หรือไม่! ดวงอาทิตย์ของเรามีเสียงด้วยนะ

สรุปข่าว

- ดวงอาทิตย์ของเรามีเสียง แต่แค่เราไม่ได้ยิน - คลื่นเหล่านี้จากดวงอาทิตย์เกิดจากก้อนแก๊สร้อนใต้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ - ก๊าซร้อนนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ - ปัจจุบันสามารถเข้าไปรับฟังเสียงของดวงอาทิตย์ได้แล้วที่ NASA

การศึกษาใหม่จากองค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศอเมริกา หรือ NASA เผยให้เห็นว่าภายในดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่ของก๊าซร้อนขนาดมหึมา ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงหลายแสนไมล์ต่อชั่วโมง ก่อนจะทะลุผ่านพื้นผิวออกมา สร้างคลื่นความดันที่แผ่กระจายออกไปคล้ายกับคลื่นในน้ำเมื่อมีวัตถุตกลงไป ซึ่งก๊าซร้อนที่เคลื่อนที่ขึ้นมาจากภายในดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน และเกิดคลื่นความดัน ที่ส่งให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เช่น จุดดับ หรือเปลวสุริยะ 


การค้นพบคลื่นความดันภายในดวงอาทิตย์ นับเป็นก้าวสำคัญในการทำความเข้าใจดาวฤกษ์ดวงที่สำคัญที่สุดของระบบสุริยะของเรา การศึกษาต่อไปจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาต่าง ๆ เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ได้มากขึ้น และนำไปสู่การพัฒนารูปแบบจำลองดวงอาทิตย์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น


Fun Fact!  

ถึงแม้เสียงจากดวงอาทิตย์จะอยู่นอกเหนือช่วงคลื่นที่มนุษย์สามารถที่จะได้ยินได้ แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จาก NASA ได้ค้นพบวิธีที่เราสามารถได้ยินเสียงดวงอาทิตย์ได้แล้ว โดยเป็นเสียงสุริยะที่สร้างขึ้นจากข้อมูลคลื่นความดันที่เก็บได้ 40 วัน จากดาวเทียมสำรวจ ของ Michelson Doppler Imager (MDI) หรือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์ที่ถูกติดตั้งบนยานอวกาศ ของหอสังเกตการณ์สุริยจักรวาล (SOHO) และผ่านการประมวลผลโดย A. Kosovichev นักวิจัยจาก New Jersey Institute of Technology สหรัฐอเมริกา


สำหรับกระบวนการที่ใช้ในการสร้างเสียงสุริยะ เริ่มต้นด้วยข้อมูลความเร็วของโดปเลอร์ หรือการวัดกระแสคลื่นความถี่ โดยเฉลี่ยค่าบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ เพื่อให้เหลือเพียงช่วงคลื่นที่มีองศาเชิงมุมต่ำ (l = 0, 1, 2) ส่วนการประมวลผลในขั้นตอนต่อมาคือการลบคลื่นแทรกจากปัจจัยอื่น เช่น คลื่นแทรกจาก ยานอวกาศ จากนั้น Kosovichev จะกรองข้อมูลที่ประมาณ 3 mHz เพื่อเลือกคลื่นเสียงที่ชัดเจนออกมา และท้ายที่สุดก็คือการแทรกข้อมูลที่หายไปและปรับขนาดข้อมูล ทำให้เราสามารถฟังเสียงของดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน

ข้อมูลการสั่นสะเทือนเหล่านี้บนพื้นผิวดวงอาทิตย์นี้มีประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสามารถศึกษาการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนภายในดวงอาทิตย์ได้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การระเบิดแสงอาทิตย์ (Solar flares) ไปจนถึงการปลดปล่อยมวลโคโรนาทั้งหมด (Coronal Mass Ejections)


ปัจจุบันมีการเปิดเผยข้อมูลไฟล์เสียงนี้ออกมาแล้ว หากใครอยากลองรับฟังสามารถเข้าไปรับฟังเสียงของดวงอาทิตย์ได้ที่ เว็บไซต์ของทาง NASA ได้เลย 




แท็กบทความ

Sun
ดวงอาทิตย์
เสียงของดวงอาทิตย์
ปรากฎการณ์
รู้หรือไม่