เทคโนโลยีอวกาศเครื่องมือสำคัญในการติดตามและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5

ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และมะเร็งปอด การเฝ้าระวังและจัดการปัญหานี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ หน่วยงานอย่าง GISTDA นำเทคโนโลยีอวกาศ เช่น ดาวเทียมและระบบ Remote Sensing มาใช้ตรวจสอบฝุ่นอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

การตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ในปัจจุบันอาศัยเทคโนโลยีจากดาวเทียมหลายดาง เช่น ดาวเทียม Himawari-8 ซึ่งบันทึกข้อมูลทุก 10 นาที ครอบคลุมพื้นที่ในทวีปเอเชียและแปซิฟิก โดยมีระบบ MODIS และ VIIRS ใช้การตรวจวัดค่าฝุ่นผ่านแสงสะท้อนในชั้นบรรยากาศ 

ขณะที่ดาวเทียม Sentinel-5P ใช้เครื่องมือ Tropomi ในการวัดมลพิษทางอากาศอย่างละเอียด เช่น PM2.5 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในระดับโลก

ข้อมูลจากดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์การกระจายตัวของฝุ่นในทุกระดับพื้นที่ โดยอาศัยแบบจำลอง WRF และเทคโนโลยี AI/ML เช่น Random Forest Model เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการติดตามค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ 

ขณะเดียวกัน ระบบ GEMS บนดาวเทียม KOMPSAT-2B ทำหน้าที่ติดตามค่าฝุ่นและก๊าซในชั้นบรรยากาศ พร้อมทั้งสอบเทียบข้อมูลกับเซนเซอร์ภาคพื้นดินเพื่อความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง

แนวทางแก้ไขและบรรเทาผลกระทบปัญหาฝุ่น PM2.5

แนวทางแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากมลพิษอากาศมุ่งเน้นการใช้นโยบายที่อ้างอิงข้อมูลที่แม่นยำ โดยกำหนดเขตควบคุมมลพิษและออกประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนที่เชื่อมต่อข้อมูลอวกาศ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนเมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 

นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้อมูลอวกาศในการระบุแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น การเผาในที่โล่ง เพื่อติดตั้งเทคโนโลยีลดมลพิษอย่างตรงจุด พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติผ่านองค์กรอย่าง UNEP ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีอวกาศเครื่องมือสำคัญในการติดตามและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5

สรุปข่าว

GISTDA นำเทคโนโลยีอวกาศ เช่น ดาวเทียมและระบบ Remote Sensing มาใช้ตรวจสอบฝุ่นอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มาข้อมูล : GISTDA

ที่มารูปภาพ : GISTDA

แท็กบทความ

GISTDA
Space
ฝุ่น PM2.5
PM2.5
TNNTech