
เปิดข้อมูลคนไทย “จำนำทรัพย์สินอะไร” นำเงินมาหมุนใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุดในปี 2567
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า สถานธนานุเคราะห์ (สธค.) ซึ่งเป็นโรงรับจำนำเพื่อสังคม สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวง พม. มุ่งให้การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ด้วยการให้บริการรับจำนำทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ข้อมูลการรับจำนำ ปีงบประมาณ 2567 มีประชาชนนำทรัพย์สินมาจำนำกับ สธค. รวมทั้งสิ้น 1,335,012 รายตั๋ว ประเภททรัพย์สินที่นำมาจำนำมากที่สุด ได้แก่
1. เครื่องประดับมีค่า (97.56%)
- ทอง นาก เพชร รวม 1,264,439 รายตั๋ว
2. อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
- โทรศัพท์มือถือ พัดลม ตู้เย็น หม้อหุงข้าว ไมโครเวฟ กระทะไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ
รวม 3,190 รายตั๋ว
3. อุปกรณ์เครื่องมือช่างและอุปกรณ์การเกษตร
- หินเจีย สว่านไฟฟ้า กบไฟฟ้า เครื่องตัดเหล็ก ตู้เชื่อม เครื่องสูบน้ำ เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นยา เครื่องปั่นไฟ ฯลฯ
รวม 3,064 รายตั๋ว

สรุปข่าว
ทั้งนี้การให้บริการของสถานธนานุเคราะห์ ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 47 สาขาใน 14 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ
- ระยอง ลำพูน สุราษฎร์ธานี อุดรธานี
- พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี
- สุพรรณบุรี ราชบุรี ลพบุรี
อัตราดอกเบี้ย
- วงเงินต้น 0 - 5,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
- วงเงินต้น 5,001 - 10,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
- วงเงินต้น 10,001 - 20,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- วงเงินต้น 20,001 - 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
สถานธนานุเคราะห์มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาทางการเงิน ด้วยการให้บริการรับจำนำทรัพย์สินที่มีค่าในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยส่วนใหญ่ประชาชนนิยมนำทอง นาก และเพชรมาจำนำมากที่สุด ซึ่งคิดเป็น 97.56% ของจำนวนตั๋วจำนำทั้งหมด
ที่มาข้อมูล : สถานธนานุเคราะห์
ที่มารูปภาพ : สถานธนานุเคราะห์