“สวนแนวตั้ง” สู้ฝุ่น PM2.5 ในเมืองใหญ่

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat เรื่อง การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในแนวตั้งต่อสู้ PM 2.5 ในเมืองใหญ่ (vertical gardens fight PM 2.5) ควรเริ่มได้แล้ว โดยระบุข้อความว่า ...

“สวนแนวตั้ง” สู้ฝุ่น PM2.5 ในเมืองใหญ่

สรุปข่าว

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแนะ "กทม.-ปริมณฑล" เพิ่มพื้นที่สีเขียวแนวตั้งสู้ PM2.5 พร้อมยกตัวอย่างเมืองที่ประสบความสำเร็จลดฝุ่น ลดก๊าซ CO2 เพิ่มออกซิเจน

ในต่างประเทศที่ประสบปัญหาสภาพอากาศปิด และมีฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐาน เขาจะเพิ่มการดูดซับฝุ่นละอองด้วยการปลูกต้นไม้ในแนวตั้งเรียกว่า City Tree โดยใช้ต้นมอส สปีร์ชี่ Ceratodon purpureus และ Racomitrium canescens จำนวน 275 ต้น ปลูกบนกำแพงเคลื่อนที่ และใช้ Wi-Fi sensors ในการตรวจสอบสภาพของต้นมอสที่ปลูก รวมทั้งใช้ solar panels ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ ทำการพ่นน้ำให้แก่ต้นมอสโดยอัตโนมัติตามเวลาที่ตั้งไว้ CityTree แต่ละแผงสามารถดูดซับฝุ่นขนาดเล็กได้ถึง 250 กรัมในแต่ละวัน หรือ เกือบ 90กก.ในแต่ละปี และลดปริมาณก๊าซ CO2 ได้ถึง 240 tons ในแต่ละปี 

โดย CityTree สามารถเห็นได้ทั่วโลกในเมืองที่มีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น เยอรมัน อินเดีย ยุโรป เป็นต้น โดยเฉพาะเมืองสตุดการ์ด เยอรมนี เป็นเมืองที่มีปัญหาฝุ่น2.5ไมครอน ได้สร้างแผง City Tree ขนาดความยาวถึง 100 เมตรหลายแห่ง

ขณะที่ประเทศเม็กซิโกใช้ต้นไม้ปลูกในแนวตั้ง หรือ Vertical Gardens บนถนน เพื่อดูดซับฝุ่นขนาดเล็กจากรถยนต์ โดยในกรุงเม็กซิโกได้ปลูกต้นไม้เป็นกำแพงสีเขียวหรือ Green walls มากกว่า 60,000 ตารางเมตร และปลูกต้นไม้รอบเสาของทางด่วนมากกว่า 1,000 ต้น พบว่าสามารถลดฝุ่น PM2.5 จากท่อไอเสียรถยนต์ดีเซลลงได้ถึง 27,000 tons โดยเพิ่มออกซิเจนให้แก่ประ ชาชนเดินถนนถึง 25,000 คน

ดร.สนธิ ยังยกตัวอย่าง Green street of  France Paris ลดมลพิษอากาศได้ถึง 30% โดยกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้ออกแบบเมืองให้มีพื้นที่สีเขียวเกือบครึ่งของพื้นที่บนถนนทุกสายและรอบ ๆตัวเมือง การปลูกต้นไม้ในเมืองปลูกแบบ urban forest คือป่าในเมืองหรือเมืองในป่า สามารถลดมลพิษทางอากาศได้ถึงร้อยละ30 รวมทั้งฝุ่น PM2.5ด้วย และช่วยลดการเกิด Heat Island รวมทั้งยังช่วยเพิ่มออกซิเจนและลดโลกร้อนให้กับกรุงปารีสด้วย

ทั้งนี้ กทม.และปริมณฑล ควรเพิ่มพื้นที่สีเขียวในแนวตั้ง เพื่อต่อสู้กับ PM2.5ได้แล้ว