สรุปข่าว
นักดาราศาสตร์พบ "ดาวเอเลียน" นอกระบบสุริยะ ขนาดใหญ่กว่าดาวเนปจูน มีเมฆเป็นโลหะคล้ายกระจกบานใหญ่ในอวกาศ
บรรดานักดาราศาสตร์ในประเทศอเมริกาใต้ เปิดเผยว่า พบดาวเคราะห์สุดขั้วที่อยู่นอกระบบสุริยะ และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเนปจูน โดย เจมส์ เจนกินส์ นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยดีเอโก พอร์ทาเลส ในชิลี เผยว่า ดาวเอเลียนดวงนี้ คือ กระจกสะท้อนขนาดใหญ่ในอวกาศ เพราะสะท้อนแสงที่พุ่งเข้าหา กลับออกไปได้ราวร้อยละ 80 นับเป็นวัตถุสะท้อนแสงได้มากที่สุดในจักรวาล
ขณะที่ดาวศุกร์ ซึ่งถือเป็นวัตถุที่ส่องสว่างที่สุดเหนือท้องฟ้ายามค่ำคืนบนโลกเคียงคู่ดวงจันทร์ เป็นวัตถุสะท้อนแสงได้มากที่สุดในระบบสุริยะ โดยดาวศุกร์ สะท้อนแสงได้ถึงร้อยละ 75 และโลก สะท้อนแสงได้ราวร้อยละ 30
ดาวเคราะห์ดวงนี้ มีชื่อว่า LTT9779b ตำแหน่งที่ตั้งของดาวอยู่ในกาแลกซีทางช้างเผือกของเรา และห่างจากโลกราว 264 ปีแสงอยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวช่างแกะสลัก นอกจากนั้น ดาวเคราะห์ LTT9779b มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าโลก 4.7 เท่า แต่มีวงโคจรใกล้มาก ซึ่งใกล้กว่าระยะห่างจากดาวอังคารกับดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดาว LTT9779b ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เพราะพื้นผิวมีอุณหภูมิสูงถึง 1,800 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนกว่าลาวาหลอมเหลว
นักวิทยาศาสตร์นำโดยศาสตาจารย์ เจน กรีฟส์ แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ในเวลส์ของสหราชอาณาจักร รายงานการพบฟอสฟีน ตัวบ่งชี้ของการมีสิ่งมีชีวิตบนเมฆของดาวศุกร์ การประกาศพบฟอสฟีนในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์สร้างความฮือฮา และนำไปสู่การศึกษาดาวศุกร์มากขึ้น ซึ่งในที่ประชุมนักดาราศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2023 ที่คาร์ดิฟฟ์ กรีฟส์ เปิดเผยการค้นพบฟอสฟีนในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์มากกว่าแต่ก่อน โดยใช้กล้องโทรทรรศน์เจมส์ คลาร์ก แม็กเวลล์ ที่หอดูดาวเมานาเคอาในรัฐฮาวายของสหรัฐฯ
กรีฟส์ และคณะทำงาน ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ค้นหาชั้นบรรยากาศในทุกระดับของดาวศุกร์ตั้งแต่ล่างขึ้นบน และตรงกลางของกลุ่มเมฆ อย่างไรก็ตาม กรีฟส์ บอกว่า สำหรับบนโลก ฟอสฟีนเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอย่างจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนต่ำมาก
ภาพประกอบข่าว AFP
ที่มาข้อมูล : -