![เปิดภารกิจค้นหา “อุกกาบาตเอเลียน” ใต้มหาสมุทร](/static/images/1f184dbd-6bd9-41f2-ab41-09db13cc14ab.jpg)
![เปิดภารกิจค้นหา “อุกกาบาตเอเลียน” ใต้มหาสมุทร](/static/images/1f184dbd-6bd9-41f2-ab41-09db13cc14ab.jpg)
สรุปข่าว
วันนี้ ( 3 ก.ค. 66 )ดร.อาวี โลบ นักฟิสิกส์ชั้นนำ และทีมงานของเขา อ้างว่าได้พบซากอุกกาบาตเอเลียน หรือ อุกกาบาตระหว่างดวงดาวแรกแล้ว หลังจมอยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก โดยอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 1.6 กิโลเมตร ซึ่งดร.โลบ ได้ใช้ตะขอเกี่ยวระหว่างดาวฤกษ์ ที่เป็นสายเคเบิลสีเหล็ก พร้อมด้วยเชือกสีม่วง แหวกว่ายอยู่ในทะเลที่มืดสนิม มองดูคล้ายปลากระเบนรูปร่างประหลาด แม้ตะขอเกี่ยวเป็นอุปกรณ์แปลกหลาดชิ้นแรกของโลก แต่ออกแบบโดยดร.โลบ ที่นำอุปกรณ์ชิ้นนี้ มาตามล่าวัตถุเอเลียน และอาจพบบางอย่างแล้ว
ย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีก่อน ดร.โลบ นึกถึงวัตถุประหลาด คือ โอมูอามูอา ดาวหางรูปทรงคล้ายซิการ์ ที่เคลื่อนตัวผ่านโลกของเราเมื่อเดือนตุลาคมปี 2017 จากนั้นโอมูอามูอา ได้หายไปในอวกาศ นับเป็นครั้งแรกที่โลกรู้จักผู้มาเยือนระหว่างดวงดาว ซึ่งอาจเดินทางมาไกลถึง 600,000 ปี จนมาถึงโลก ทำให้ดร.โลบ ตัดสินใจค้นหา พร้อมด้วยทีมนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และบันทึกการเกิดลูกไฟเหนือท้องฟ้าทั่วโลกทางออนไลน์ ทำให้ดร.โลบ ได้พบกับ ไอเอ็ม 1 อุกกาบาตประหลาดที่ระเบิดเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 03.05 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 9 มกราคมปี 2014
อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีมนุษย์คนใด ที่เผชิญหน้ากับวัตถุจากนอกระบบสุริยะ แม้การสำรวจอวกาศผ่านมาแล้ว 66 ปี และภารกิจเก็บตัวอย่างต่างๆ หลายร้อยครั้งจากดวงจันทร์ , ลมสุริยะ , ดาวเคราะห์น้อย และวงโคจรต่ำของโลก ตลอดจนอุกกาบาตกว่า 70,000 ดวง ที่พบบนพื้นโลกของเรา แต่เศษชิ้นส่วนของอุกกาบาต ซึ่งกระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก ก็มาจากในระบบสุริยะทั้งนั้น
ภาพจาก : AFP
ที่มาข้อมูล : -