เปิดไทม์ไลน์ เหตุการณ์สำคัญในเมียนมาก่อน “ปฏิวัติ” อีกครั้ง!
เปิดไทม์ไลน์ เหตุการณ์สำคัญในเมียนมาก่อน “ปฏิวัติ” อีกครั้ง ทหารบุกจับ 'อองซาน ซูจี' พร้อมเจ้าหน้าที่ระดับสูง
พฤศจิกายน 2015: พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย และนางออง ซาน ซูจี ได้ขึ้นมามีอำนาจ ไม่ใช่ในฐานะประธานาธิบดี แต่เป็น “ที่ปรึกษาแห่งรัฐ” ซึ่งคือผู้นำประเทศนางให้คำมั่นจะแก้ปัญหา ความขัดแย้งของชนกลุ่มน้อย, ดึงการลงทุกจากต่างประเทศ และเดินหน้าปฏิรูปประเทศไปพร้อมกับนายพล เต็ง เส่ง” (อดีตปธน.ก่อนหน้านั้น)
ตุลาคม 2016 : กองกำลังโรฮิงญาโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐยะไข่ สังหารตำรวจ 9 นาย ทำให้กองทัพเมียนมาต้องออกปฏิบัติการด้านความมั่นคง และทำให้ชาวโรงฮิงญามากกว่า 70,000 ชีวิต ต้องหลบหนีเข้าไปในบังคลาเทศ
สิงหาคม 2017 : กองกำลังโรฮิงญาได้เปิดโจมตีในรัฐยะไข่อีกครั้ง ทำให้ทหารเมียนมาต้องปฏิบัติการไล่ต้อนชาวโรฮิงญาอีกกว่า 73,000 ข้ามไปยังบังคลาเทศอีกครั้ง โดยทางสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ปฏิบัติการของทหารเมียนมาเป็นการสังหารหมู่, ข่มขืนและมีการลอบวางเพลิง ซึ่งนับว่าเป็นความจงใจ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” แต่เมียนมาปฏิเสธ ซึ่งนางซูจีระบุว่า “กลุ่มก่อการร้าย” อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ผิด ๆ เหล่านี้ที่ UN ได้รับ
มกราคม 2019 : เกิดการปะทะกันครั้งใหม่ในรัฐยะไข่ ระหว่างกองทัพ และกลุ่ม อารากัน อาร์มี่ (AA) ซึ่งกลุ่ม AA ต้องการปกครองตนเองมากขึ้น โดยได้ไปนำชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาพุทธในรัฐยะไข่เข้าร่วม โดยนางซูจี ได้ขอรองให้กองทัพ “ปรากบ” กบฏเหล่านี้ลง
11 พ.ย. 2019 : กลุ่มมุสลิม ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก ว่า เมียนมาได้ก่อเหตุ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา”
11 ธ.ค. 2019 : นางซูจี ไปปรากฎตัวต่อศาลโลกในกรุงเฮก ปฏิเสธข้อกล่าวหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา และยืนยันว่าเป็นการ “ให้ข้อมูลผิดๆ” แต่ระบุว่าอาจมีการก่ออาชญากรรมสงครามจริง
20 ก.ย. 2020 : ไวรัสโคโรนาระบาดหนักในเมียนมา ทำให้รัฐบาลต้องสั่งล็อกดาวน์กรุงย่างกุ้ง และหลายพื้นที่ และยืนยันจัดเลือกตั้ง 8 พฤศจิกายนต่อไป
22 ก.ย. 2020 : มร.โธมัส แอนดรูวส์ UN human rights ได้ไปสืบสวนในเมียนมา และพบว่าการเลือกตั้งในเมียนมาไม่สามารถทำตามมาตรฐานระดับโลกได้ อีกทั้งยังพบว่ามีการตัดสิทธิ์ “ชาวโรฮิงญา” หลายแสนคน และยังพบว่ามีแคนดิเดตชาวโรฮิงญาเกือบ 10 คน ถูกตัดสิทธิ์จากการลงสมัครอีกด้วย
17 ต.ค. 2020 : คณะกรรมการเลือกตั้งเมียนมายกเลิกการลงคะแนนในพื้นที่รัฐยะไข่ หลังมีการต่อสู้กับกลุ่ม AA และมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน ตลอดจนพลัดถิ่นอีกหลายหมื่น ซึ่งทำให้หลายพื้นที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมได้
3 พ.ย. 2020 : พลเอก มิน อ่อง หล่าย ระบุว่ รัฐบาลพลเรือนกำลังทำ “ความผิดพลาดอย่างไม่อาจยอมรับได้” ในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งนับเป็นการเตือนครั้งที่ 2 ในรอบ 2 วัน เกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างไม่บริสุทธิ์ โดยนางซูจีได้ประกาศผ่านเฟซบุคว่าขอให้ใจเย็นลง และขอให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ์และไม่ต้องหวาดกลัวใดๆ
9 พ.ย. 2020 : พรรค NLD อ้างว่าได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และโฆษกพรรค เมียว เนือนท์ ชี้ว่า พรรค NLD น่าจะได้ที่นั่งในสภากว่า 390 ที่นั่ง (ตรงนี้เองที่ทำให้ทหารไม่พอใจหนัก เพราะก่อนหน้านี้ทหารได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาราว 1 ใน 4)
11 พ.ย. 2020 : พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แลขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูเรื่องความยุติธรรม
13 พ.ย. 2020 : พรรค NLD ยังคงเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล หลังผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการชี้ว่า พรรค NLD มีที่นั่งมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้เอง
26 ม.ค. 2021: โฆษกกองทัพ นายพล จ่อ มิน ทุน เตือนว่าจะเข้ามา “กุมอำนาจ” หากการเลือกตั้งไม่ได้รับการแก้ไข แต่ปฏิเสธเรื่องการ “ปฏิวัติ” พร้อมขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้าสอบสวนรายชื่อผู้ลงคะแนน ที่เชื่อว่ามีความคลาดเคลื่อนอย่างมาก
28 ม.ค. 2021 : กกต. ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ามีการโกง ระบุว่าไม่มีความผิดพลาดมากพอที่จะกระทบต่อผลเลือกตั้งทั้งหมด
30 ม.ค. 2021 : กองทัพเมียนมาระบุว่า จะปกป้องและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมาย พบว่ามีการเดินขบวนสนับสนุนกองทัพในหลายเมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้ง และวันต่อมากองทัพยังได้ออกแถลงการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก “ปฏิเสธ” ความพยายามในการ “ขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตย”
1 ก.พ. 2020 : นางออง ซาน ซูจี, ปธน.อู วิน มินท์ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรค NLD ถูกจับกุมเมื่อช่วงเช้ามืด ขณะที่อินเตอร์เน็ต-โทรศัพท์-โทรทัศน์ ถูกตัดสัญญาณในย่างกุ้ง โดยมีกองกำลังทหารประจำการตามจุดต่าง ๆ
ก่อนที่กองทัพจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ปี เป็นอย่างน้อย และแต่ตั้ง พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย เป็นผู้นำสูงสุด และให้ พล.ต. มินฉ่วย รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดี
นับเป็นการ “ฉีกรัฐธรรมนูญ” อย่างชัดเจน แม้ว่ากองทัพยืนยันปฏิบัติตามและปกป้องรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะรธน.ปี 2008 กำหนดไว้แล้วว่า กองทัพไม่มีอำนาจแทรกแซงทางการเมือง (แม้จะมีที่นั่งในสภาได้ถึง 1 ใน 4 ก็ตาม)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ด่วน! กองทัพเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี
ด่วน 'อองซาน ซูจี' พร้อมเจ้าหน้าที่ระดับสูง ถูกทหารเมียนมาควบคุมตัว
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.comfacebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE