10 วีรกรรมแชร์ลูกโซ่สุดฉาวโฉ่จากทั่วโลก ตั้งแต่ผู้ริเริ่มโมเดลธุรกิจพีระมิด

10 วีรกรรมแชร์ลูกโซ่สุดฉาวโฉ่จากทั่วโลก ตั้งแต่ผู้ริเริ่มโมเดลธุรกิจพีระมิด

สรุปข่าว

คำว่า Ponzi Scheme ตั้งชื่อตาม ชาร์ลส์ พอนซี นักธุรกิจชาวอิตาลี เรียกได้ว่า เป็น บิดาแชร์ลูกโซ่ก็ว่าได้ เขาหลอกนักลงทุนว่า ผลกำไรที่พวกเขาได้รับ มาจากการทำธุรกิจของเขา ทั้งที่จริง ๆ ก็ไม่มีการลงทุนหรือทำธุรกิจอะไร ธุรกิจหลอกลวงในลักษณะนี้อยู่ไปได้เรื่อย ๆ ตราบใดที่มีนักลงทุนคนใหม่เข้ามาได้เรื่อย ๆ


ชาร์ลส์ พอนซี (Charles Ponzi) 

ต้นแบบของการแชร์ลูกโซ่ พอนซี ทำเงินได้ราว 15 ล้านดอลลาร์ ในเวลาเพียง 8 เดือน โดยการโน้มน้าวผู้ให้กู้เงินว่า เขาสามารถทำให้พวกเขาร่ำรวยได้จากการลงทุนในคูปองตอบกลับระหว่างประเทศ ซึ่งรูปแบบที่เขาใช้หลอกลวงคือ การลงทุนแบบพีระมิด ที่เป็นการเอาเงินจากนักลงทุนรายใหม่ไปจ่ายคืนให้นักลงทุนรายเก่า และชื่อของเขาถูกนำมาเรียกขานการหลอกลวงแบบ “แชร์ลูกโซ่” (Ponzi Scheme) ทำให้การแชร์ลูกโซ่ หรือ การลงทุนแบบพีระมิดเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แม้เขาจะไม่ได้เริ่มทำเป็นคนแรกก็ตาม


ลู เพิร์ลแมน (Lou Peralman) 

ผู้อยู่เบื้องหลังบอยแบนด์สุดโด่งดัง อย่างแบ็กสตรีทบอยส์ และเอ็นซิงก์ แต่หารู้ไม่ว่าเขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวีรกรรมแชร์ลูกโซ่ ที่สร้างความเสียหากว่า 300 ล้านดอลลาร์ เขาใช้ชื่อเสียงของเขาหลอกนักลงทุนมากมายมาร่วมลงทุน และเขายังฟอกเงินค่าตัวของวงบอยแบนด์ในสังกัดเขาอีกด้วย โดยในปี 2008 เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานสมคบคิดและฟอกเงิน และถูกตัดสินให้จำคุกที่เรือนจำกลาง 25 ปี ในปี 2016 เขาได้เสียชีวิตลงในปี 2016 ในวัย 62 ปี และเรื่องราวของเขายังได้ถูกนำไปสร้างเป็นสารคดี โดย Netflix


เบอร์นี แมดอฟฟ์ (Bernie Madoff) 

วีรกรรมแชร์ลูกโซ่ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ แมดอฟฟ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แมดอฟฟ์ อินเวสเมนท์ ซีเคียวริติส์ เขาได้ริเริ่มโครงการหลอกลวงนักลงทุนตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 โดยเขาได้หลอกนักลงทุนหลายพันคนให้มาลงทุนโดยจะได้รับผลตอบแทนสูง แต่ความจริงแล้วไม่มีการลงทุนเกิดขึ้น คดีนี้ได้สร้างความเสียหายทั้งหมดราว 6,500 ล้านดอลลาร์ ในปี 2008 แมดอฟฟ์ ได้ถูกตัดสินจำคุก 150 ปี และเขาได้เสียชีวิตในเดือนเมษายน ปี 2021ในวัย 82 ปี


บริษัท หยี่ลี่เชิน เทียนสี่ (Yilishen Tianxi Group)

โครงการแชร์ลูกโซ่จากจีน ที่หลอกเอาเงินจากนักลงทุนมากกว่า 2 ล้านดอลลาร์ ในปี 1997 ถึง 2007 โดยได้หลอกนักลงทุนมาร่วมลงทุนในยาแผนจีนที่ทำจากมด โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นเพียงการปกปิดเท่านั้น ความเป็นจริงบริษัทใช้เงินลงทุนของนักลงทุนรายใหม่จ่ายให้นักลงทุนรายเก่า และปลอมแปลงเอกสารให้ดูเหมือนว่าพวกเขาทำเงินได้ มีผู้คนมากกว่า 200,000 คน มาประท้วงหน้าบริษัท และมีหลายคนฆ่าตัวตายจากเหตุการณ์ฉ้อโกงครั้งนี้ สุดท้ายผู้นำของบริษัทถูกตัดสินประหารชีวิต


ทอม เพตเตอร์ส (Tom Petters) 

ผู้อยู่เบื้องหลังคดีแชร์ลูกโซ่ที่สร้างความเสียหายมากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ เขาเคยบริหารธุรกิจหลายแห่ง รวมถึงบริษัทรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และบริษัทร่วมลงทุนในมินนิโซตา แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงการหลอกลวง เขาใช้การลงทุนแบบพีระมิด เพื่อหลอกนักลงทุนและยังขายสินค้าเพิ่มเติมให้นักลงทุนอีกด้วย สุดท้ายโครงการของเพตเตอร์สล้มเหลว เขาถูกตัดสินจำคุก 50 ปี ในข้อหา ฉ้อโกง ฟอกเงิน และให้การเท็จ


MMM 

โครงการแชร์ลูกโซ่จากประเทศรัสเซีย ในช่วงปี 1990 ประธานบริษัท เซอร์เก มาโวรดี้ (Sergei Mavrodi) สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนกว่า 1,000 % แก่นักลงทุนภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าดึงดูดมาก มีชาวรัสเซียจำนวนมากเริ่มลงทุนกับ MMM อย่างไรก็ตามโครงการนี้ไม่ได้มีการลงทุนจริง เมื่อเงินจากนักลงทุนใหม่เริ่มไม่พอจ่ายให้นักลงทุนเก่า MMM ก็ได้ล่มไปในที่สุด ซึ่งโครงการนี้ได้ทำให้ผู้ลงทุนเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์


อัลเลน สแตนฟอร์ด (R. Allen Stanford) 

แผนการนี้เกี่ยวข้องกับใบรับรองฝากเงินธนาคาร สแตนฟอร์ด อินเตอร์เนชันแนล รัฐฟลอริดา ในความเป็นจริงธนาคารนี้เป็นแค่ฉากหน้า และสแตนฟอร์ดได้หลอกนักลงทุนด้วยการลงทุนแบบพีระมิด มีนักลงทุนถูกหลอกกว่า 30,000 ราย รวมเป็นค่าเสียหายกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ สุดท้ายแล้วในปี 2012 เขาถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 10 ปี ในคดี ฉ้อโกง สมคบคิด และฟอกเงิน


โครงการ บิทคอนเน็ค (Bitconnect) 

โครงการลงทุนสกุลเงินดิจิตอลที่ถูกปิดตัวลงในปี 2018 มูลค่าตลาดของมันเพิ่มขึ้นถึง 2,600 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่จะถูกเปิดเผยว่าเป็นเพียงการแชร์ลูกโซ่หลอกลวงนักลงทุน ทำให้มูลค่าเหรียญลดลงทันที จากเหรียญละ 500 ดอลลาร์ เหลือ 1 ดอลลาร์ ในปี 2021 เกล็น อาคาร์โร (Glenn Arcaro) ผู้พัฒนา บิทคอนเน็ค ได้ถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน สมคบคิดเพื่อกระทำการฉ้อโกงทางสายโทรศัพท์และการริบทรัพย์สิน อาร์คาโร รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา และได้ชำระเงินคืนให้กับผู้เสียหาย


จีพีบี แคปิตอล (GPB Capitol) 

โครงการแชร์ลูกโซ่ จากรัฐนิวยอร์ก จัดทำโดย เดวิด เจนไทล์ (David Gentile) ซึ่งเขาใช้กองทุนของ จีพีบี แคปิตอล และบริษัทย่อย หลอกลวงเงินจากนักลงทุนได้กว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ กองทุนถูกนำออกจำหน่ายทั่วประเทศผ่านกลุ่มนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในปี 2019 เอฟบีไอ ได้เข้าค้นสำนักงานของ เจนไทล์ และไม่นานจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงรัฐต่าง ๆ ได้ยื่นฟ้องบริษัท จีพีบี แคปิตอล


เซนดาน่า (Cendana) 

โครงการจากอินโดนีเซียในปี 2014 โดยผู้ก่อตั้งได้หลอกลวงนักลงทุนโดยอ้างว่า จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนธุรกิจสินค้าผ่านเครือข่าย ผู้เข้าร่วมลงทุนได้ถูกชักชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์ และบังคับให้ชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วมเครือข่ายเพื่อเพิ่มผลตอบแทน อย่างไรก็ตามโครงการนี้เป็นเพียงการแชร์ลูกโซ่ที่ไม่มีธุรกิจจริง ทำให้ในที่สุดโครงการนี้ก็ได้ล่มไป และสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์


10 วีรกรรมแชร์ลูกโซ่สุดฉาวโฉ่จากทั่วโลก ตั้งแต่ผู้ริเริ่มโมเดลธุรกิจพีระมิด

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

แชร์ลูกโซ่
หลอกลงทุน
สหรัฐ
ดิไอค่อน
ขายตรง