นักวิทยาศาสตร์ยืนยัน อุกกาบาตที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ไม่ได้มีแค่ลูกเดียว
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันแล้วว่า อุกกาบาตที่พุ่งชนโลกและได้ล้างเผ่าพันธ์ุไดโนเสาร์ไปจนหมด เมื่อ 6 พันล้านปีก่อน ไม่ได้มีแค่ดาวเคราะห์น้อยเพียงดวงเดียว แต่มีหินอวกาศขนาดเล็กอีกก้อนหนึ่งพุ่งชนทะเลนอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า ‘นาดีร์’ ที่เกิดขึ้นในปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์ุ
ดร. อุสเจน นิโคลสัน จากมหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ พบหลุมอุกกาบาต ‘นาดีร์’ เป็นครั้งแรกในปี 2022 แต่ยังไม่มีความแน่นอนว่าหลุมอุกกาบาตก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร แต่ในปัจจุบัน ดร. นิโคลสันและเพื่อนร่วมงานแน่ใจว่าแอ่งลึก 9 กิโลเมตรนี้ เกิดจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนก้นทะเล แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถระบุวันที่ของเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ หรือไม่สามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นี้เกิดก่อนหรือหลังเหตุการณ์ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธ์
ดร. นิโคลสัน ได้อธิบายเหตุการณ์นี้ว่า “ลองนึกดูนะว่า ถ้ามีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนเมือง กลาสโกว์ แต่คุณอยู่ที่เมือง เอดินบะระ ห่างกัน 50 กิโลเมตร คุณจะเห็นลูกไฟที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 24 เท่า ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ต้นไม้และพืชต่าง ๆ ในเอดินบะระลุกไหม้ได้ แรงระเบิดในอากาศที่ดังมากจะตามมาก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ตามมาด้วยเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่” นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมดาวเคราะห์น้อยทั้งสองถึงพุ่งชนโลกในเวลาใกล้ ๆ กัน
ดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาต 'นาดีร์' มีขนาดกว้าง 450-500 เมตร และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันพุ่งชนโลกด้วยความเร็ว 72,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวมีขนาดเท่ากับ ‘เบนนู’ ที่ปัจจุบันเป็นวัตถุที่อันตรายที่สุดที่กำลังโคจรรอบโลก ตามข้อมูลของนาซาระบุว่า วันที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดที่เบนนูจะพุ่งชนโลกคือวันที่ 24 กันยายน 2182 แต่ยังคงมีความน่าจะเป็นเพียง 1 ใน 2,700 เท่านั้น
เนื่องจากไม่เคยมีการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่านี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ หลุมอุกกาบาต ‘นาดีร์’ จึงถูกรักษาเป็นอย่างดี โดยทั่วโลกมีหลุมอุกกาบาตใต้ทะเลมากกว่า 20 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ถูกกัดเซาะ และไม่มีหลุมอุกกาบาตไหนที่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดเท่ากับหลุมอุกกาบาต 'นาดีร์' แห่งนี้อีกแล้ว
ข่าวแนะนำ