TNN ญี่ปุ่นผู้ผลิต “วิทยุสื่อสาร” ที่ระเบิดที่เลบานอนประกาศร่วมสอบสวน

TNN

World

ญี่ปุ่นผู้ผลิต “วิทยุสื่อสาร” ที่ระเบิดที่เลบานอนประกาศร่วมสอบสวน

ญี่ปุ่นผู้ผลิต “วิทยุสื่อสาร” ที่ระเบิดที่เลบานอนประกาศร่วมสอบสวน

ICOM ผู้ผลิต “วิทยุสื่อสาร” ที่เกิดระเบิดครั้งใหม่ที่เลบานอนประกาศจะ “สอบสวน” เหตุที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบริษัทเป็นผู้จัดส่งวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการโจมตีที่เลบานอนหรือไม่

ในวันนี้ (19 กันยายนบริษัท ICOM ของญี่ปุ่นประกาศว่าจะมีการสอบสวนหลังได้รับรายงานว่า “วิทยุสื่อสาร” หรือ Walkie-Talkies รุ่น IC-V82 ที่มีตราสินค้าของบริษัทได้เกิดระเบิดที่เลบานอนภายหลังจากเพิ่งเกิดเหตุเพจเจอร์ระเบิดไปเพียง 1 วัน โดยบริษัท ICOM กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการระเบิดของอุปกรณ์เหล่านี้และจะมีการเปิดเผยข้อมูลเมื่อทุกอย่างพร้อมอีกครั้ง ขณะเดียวกันในแถลงการณ์ของบริษัท ICOM ยังได้ระบุว่าวิทยุสื่อสารรุ่นดังกล่าวบริษัทได้ผลิตและส่งออกไปยังตะวันออกกลางตั้งแต่ปี 2004 ถึงเดือนตุลาคมปี 2014 และไม่ได้มีการผลิตใหม่อีกเลยนับตั้งแต่นั้นมา 


นอกจากนี้ ICOM ยังยืนยันว่าโรงงานผลิตของบริษัทมีแห่งเดียวคือที่จังหวัดวาคายามะของญี่ปุ่นภายใต้ระบบการจัดการที่เข้มงวดตามกฎระเบียบของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อให้แน่ใจว่าจะ “ไม่มีชิ้นส่วนอื่น” หลุดลอดเข้ามานอกเหนือจากวัสดุที่บริษัทใช้ในการผลิต พร้อมทั้งได้ระบุว่าบริษัทไม่มีการผลิตจากโรงงานในต่างประเทศอย่างแน่นอน ส่วนการผลิตแบตเตอรีที่จําเป็นต่อการใช้งานบริษัท ICOM ก็ได้ยกเลิกผลิตไปแล้วเช่นเดียวกันและบริษัทไม่ได้ประทับตราสัญลักษณ์ ICOM เพื่อแยกแยะผลิตภัณฑ์ปลอม ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่า “วิทยุสื่อสาร” ที่เกิดเหตุถูกจัดส่งจากบริษัทของ ICOM โดยตรงหรือไม่ 


สำหรับความคืบหน้าอื่น  หลังเกิดเหตุระเบิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขของเลบานอนออกมาเตือนว่าความเสียหายรวมไปถึงยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุวิทยุสื่อสาระเบิดอาจเพิ่มขึ้นกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งสถานการณ์ภายในโรงพยาบาลกว่า 90 แห่งในกรุงเลบานอนขณะนี้ยังคงชุลมุนโดยแพทย์และพยาบาลต้องรับมือกับผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 300 คน ในห้อง ICU ขณะที่ยังมีผู้ป่วยอีกไม่ต่ำกว่า 400 คนที่ยังรอการผ่าตัดและการรักษาอื่น  


ส่วงทางฝั่งอิหร่าน ล่าสุดออกมาเผยว่าพร้อมตอบโต้กลับใครก็ตามที่ทำให้เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำเลบานอนได้รับบาดเจ็บจากเหตุเพจเจอร์ระเบิดเพื่อตอบสนองต่ออาชญากรรมและการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่โหดร้ายเช่นนี้ ขณะที่นายอันโตนิโอ กูร์แตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติในนครนิวยอร์กว่าวัตถุของพลเรือนไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นอาวุธทางทหารโดยรัฐบาลแต่ละประเทศควรออกกฎเพื่อควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง