TNN เมกะสึนามิในกรีนแลนด์ คำเตือนจากธรรมชาติ เสี่ยงสึนามิเพราะโลกร้อน

TNN

World

เมกะสึนามิในกรีนแลนด์ คำเตือนจากธรรมชาติ เสี่ยงสึนามิเพราะโลกร้อน

เมกะสึนามิในกรีนแลนด์ คำเตือนจากธรรมชาติ เสี่ยงสึนามิเพราะโลกร้อน

เมกะสึนามิ หรือสึนามิที่ทำให้เกิดคลื่นสูง 76 เมตร จากภูเขาน้ำแข็งถล่มเดือนกันยายนปี 2023 ภูเขาน้ำแข็งถล่มที่ดิกสัน ฟยอร์ด ในกรีนแลนด์ ส่งผลให้เกิดคลื่นสั่นไหวไปทั่วโลกเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และเผยข้อมูลที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

เมกะสึนามิที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดสัญญาณแผ่นดินไหว 2 สัญญาณ ได้แก่ สัญญาณพลังงานสูงจากดินถล่ม และสัญญาณระยะยาวจากคลื่นไหวสะเทือนใน ดิกสัน ฟยอร์ด นาน 1 สัปดาห์ โดยผลการค้นพบดังกล่าวให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและดินถล่มในกรีนแลนด์ โดยการวิเคราะห์สัญญาณระยะยาว ซึ่งตรวจพบได้ไกลถึง 5,000 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า ดินถล่มและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดคลื่นเซช หรือคลื่นนิ่งที่แกว่งไปมาในแหล่งน้ำ ในกรณีนี้ คลื่นเซชเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันระหว่างชายฝั่งของ ดิกสัน ฟยอร์ด


นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวระบุว่า การวิเคราะห์สัญญาณแผ่นดินไหวสามารถให้คำตอบบางอย่างแก่เราเกี่ยวกับกระบวนการที่เกี่ยวข้อง และอาจนำไปสู่การตรวจสอบเหตุการณ์ที่คล้ายกันในอนาคต หากเราไม่ได้ศึกษาเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้ เราก็จะไม่ทราบเกี่ยวกับคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดขึ้น


ผลการวิจัยนี้จะช่วยนักวิจัยในการศึกษาผลกระทบของดินถล่มในกรีนแลนด์และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ขณะที่ภาวะโลกร้อนและการสูญเสียชั้นดินเยือกแข็งทำให้เนินหินและธารน้ำแข็งไม่มั่นคงมากขึ้น และเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่ได้ข้อมูลจากสถานีที่ตั้งอยู่ไกลถึงเยอรมนี รัฐอะแลสกา และอเมริกาเหนือ


ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากสึนามิ เช่น เหตุการณ์ที่คาร์รัต ฟยอร์ด ในปี 2017 เกิดหิมะถล่มและคลื่นสึนามิพัดถล่มหมู่บ้าน Nuugaatsiaq และคร่าชีวิตผู้คนไป 4 ราย นอกจากนี้ คลื่นสึนามิขนาดสูงกว่า 100 เมตร นอกชายฝั่งตะวันออกของกรีนแลนด์ยังพัดมาถึงยุโรปอีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจะทำให้การเกิดสึนามิขนาดใหญ่แบบนี้ มีความเสี่ยงมากขึ้นในทุก ๆ ปี

ข่าวแนะนำ