TNN พบ “โคเคน” ในฉลาม เพราะเหตุใด? ส่งผลอย่างไร?

TNN

World

พบ “โคเคน” ในฉลาม เพราะเหตุใด? ส่งผลอย่างไร?

พบ “โคเคน” ในฉลาม เพราะเหตุใด? ส่งผลอย่างไร?

พบฉลามจมูกแหลมอย่างน้อย 13 ตัว ที่จับได้นอกชายฝั่งนครริโอ เดอ จาเนโร ตรวจพบว่ามี “สารโคเคน” อยู่ในร่างกาย เกิดอะไรขึ้นกับพวกมัน?

นักวิจัย แห่งมูลนิธิ Oswaldo Cruz ในริโอ เผยว่า พบโคเคนความเข้มข้นสูงในกล้ามเนื้อและตับของฉลามเหล่านี้ โดยเป็นเพศผู้ 3 ตัว และเพศเมียอีก 10 ตัว โดยมี 5 ตัวกำลังตั้งท้องอยู่

 

ฉลามเหล่านี้ ถุกจับได้โดยเรือประมงนอกชายฝั่ง ระหว่างปี 2021-2023 ที่ผ่านมา และตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบว่ามีสารโคเคนความเข้มข้นสูงกว่า 100 เท่า จากที่เคยรายงานการพบในสัตว์น้ำอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

 

งานวิจัยพบว่า ระดับโคเคนในกล้ามเนื้อของฉลาม สูงกว่าในตับ ถึง 3 เท่า

 

·      ทำไมถึงเจอโคเคนในฉลามได้?

 

ก็เนื่องจากมีการใช้โคเคนในภูมิภาคมากขึ้น - ระบบระบายน้ำที่ไม่ดี ทำให้มีปริมาณโคเคนในทะเลสูงขึ้น ประกอบกับมีการลักลอบขนยาเสพติดทางทะเลหลายครั้ง  เช่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2024 นี้ มีผู้พบโคเคนน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ลอยอยู่ในทะเล ซึ่งมีมูลค่าในตลาดสูงถึงกว่า 35 ล้านบาท

 

รวมถึงบรรดากลุ่มลักลอบค้ายา ที่อาจทิ้งโคเคน หรือยาเสพติดอื่น ๆ ลงสู่ทะเล เพราะกังวลว่าอาจถูกหน่วยยามฝั่งจับได้

 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ตำรวจในนิวซีแลนด์ พบโคเคนน้ำหนักถึง 3.2 ตัน มูลค่ากว่า 300 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1 พันล้านบาท ลอยอยู่กลางทะเล – ขณะที่เมื่อปี 2019 เจ้าหน้าที่สกัดเรือดำน้ำที่ขนโคเคน 3 ตัน มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท นอกชายฝั่งสเปนด้วย

 

เคยมีการทดลองชนิดหนึ่ง โดย Hird และ Fanara ที่ทำการทิ้งก้อนโคเคนปลอม และห่อพลาสติกลงในทะเล เพื่อดูว่าฉลามจะเข้ามาถึงมันเป็นชนิดแรกหรือไม่ .. และก็เป็นเช่นนั้นจริง แต่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจน

 

·      โคเคน คือ “ยาชา” สำหรับฉลาม?.

และยังไม่ชัดเจนว่า โคเคน จะมีผลต่อร่างกายของฉลามอย่างไร เพราะยังคงมีการศึกษาเรื่องนี้ไม่มากนัก

 

ลอรา การ์เซีย บาร์เซีย นักวิทยาศาตร์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริดา กล่าวไว้ในรายการ When Sharks Attack and Why ของ National Geographic ปี 2023 ว่า “มีการศึกษาเพียงน้อยนิด แต่พบว่า โคเคนมีผลต่อปลาที่แตกต่างจากมนุษย์โดยสิ้นเชิง โดยมันออกฤทธิ์ประหนึ่ง ‘ยาชา’ ในปลา – แต่เป็น ‘สารกระตุ้น’ ในมนุษย์”

ขณะที่การศึกษาจาก Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology และ Zurich University เมื่อปี 2016 ด้วยการให้โคเคนกับปลาม้าลาย ซึ่งไม่ได้มีผลกระตุ้น เหมือนที่มีผลต่อมนุษย์ – ซึ่งผลการวิจัยพบว่า โคเคนไปสะสมในดวงตาของปลาม้าลาย แทนที่จะสะสมในสมองเหมือนกับมนุษย์

 

·      ทดสอบให้โคเคนต่อปลาไหล

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ยังไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และนักชีววิทยา แห่ง University of Naples Federico II เคยทำการวิจัยในปี 2018 ที่นำปลาไหล ใส่ในน้ำที่มีโคเคนละลายอยู่นาน 50 วัน และพบว่า มันมีพฤติกรรมที่ไฮเปอร์กว่าปกติ

 

ทำให้กลุ่มนักสิ่งแวดล้อม และนักชีวิวิทยากังวลว่า การมีอยู่ของยาเสพติดในแม่น้ำ จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของปลาบางชนิดได้

ข่าวแนะนำ