TNN World-in-depth by วิศรุต หล่าสกุล: โศกนาฏกรรม “วัลเลย์ พาเหรด” มหาวิบัติไฟผลาญสนาม จนเกิด “การเปลี่ยนแปลง” ฟุตบอลอังกฤษ

TNN

World

World-in-depth by วิศรุต หล่าสกุล: โศกนาฏกรรม “วัลเลย์ พาเหรด” มหาวิบัติไฟผลาญสนาม จนเกิด “การเปลี่ยนแปลง” ฟุตบอลอังกฤษ

World-in-depth by วิศรุต หล่าสกุล: โศกนาฏกรรม “วัลเลย์ พาเหรด” มหาวิบัติไฟผลาญสนาม จนเกิด “การเปลี่ยนแปลง” ฟุตบอลอังกฤษ

โศกนาฏกรรมในโลกฟุตบอลนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง และแต่ละครั้ง นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทั้งสิ้น

โศกนาฏกรรมในโลกฟุตบอลนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง และแต่ละครั้ง นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทั้งสิ้น 


แต่หนึ่งในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่แฟนฟุตบอล โดยเฉพาะ แฟนฟุตบอลอังกฤษ อาจหลงลืมไป หนีไม่พ้น การเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่ “วัลเลย์ พาเหรด (Valley Parade)” สนามของสโมสร “แบรดฟอร์ด ซิตี้ (Bradford City)” ในปี 1985


แน่นอน นอกตัวเลขของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแล้ว โศกนาฏกรรมนี้ ยังได้ทำการเปลี่ยนแปลง “ฟุตบอลอังกฤษ” ในเรื่องของความปลอดภัยไปตลอดกาลอีกทอกหนึ่งอย่างไม่น่าเชื่อ


ร่วมย้อนรอยตื้นลึกหนาบางประเด็นดังกล่าว เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจได้ ณ บัดนี้ 


ยาสูบมหาภัย เชื้อไฟบรรลัยกัลป์


หากทำการสืบสาวราวเรื่อง ส่วนใหญ่ตามหน้าสื่อต่างประเทศ ชี้ชัดเป็นฉันทามติว่า ในแมทช์สุดท้ายของการแข่งขันดิวิชัน 3 [ลีกวัน ในปัจจุบัน] ระหว่างแบรดฟอร์ด ซิตี้ ปะทะ ลินคอล์น ซิตี้ ซึ่งเป็นแมทช์ฉลองแชมป์ของแบรดฟอร์ด ซิตี้ ที่จะได้เลื่อนชั้นไปเล่นในดิวิชัน 2 [เดอะ แชมเปี้ยนชิพ ในปัจจุบัน] เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร 


แน่นอน วันนั้นแฟนบอลต่างต้องการเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์นี้ จึงทำการเข้าชมอย่างแน่นนขัด อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน


แต่แล้ว ในช่วงพักครึ่ง ผู้บรรยายและแฟนบอลจากอีก 3 ฝั่ง ได้สังเกตุเห็นแสงไฟประหลาดวิบวับขึ้นที่ “เมน สแตนด์” ก่อนที่กล้องทุกตัวของสนามจะจับจ้องไปที่จุดนั้น และไม่นาน ไฟจุดเดียว ก็ขยายใหญ่กลายเป็นทะเลเพลิง ย่างสดผู้ชมที่แน่นขนัดในสนาม บางส่วนที่รอด คือพวกที่อยู่ชั้นล่าง ๆ หนีลงกลางสนามได้ทัน 


ไม่นาน ไฟก็ได้ลุกลามบานปลาย แต่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำเมืองแบรดฟอร์ดกลับทำงานได้ล่าช้า ควบคุมเพลิงไม่ทันการ จนในที่สุด เมน สแตนด์ก็พังครืนลงมา ไฟเกือบจะลามไปทั่วสนาม เดชะบุญที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำงานพอดี จากเหตุการณ์นี้ มีผู้ได้รับการย่างสดตายคาเก้าอี้ 52 ราย ส่วนอีก 4 รายตายที่โรงพยาบาลเนื่องจากไม่อาจทนพิษแผลไฟไหม้ได้ รวมแล้วเสียชีวิต 56 ราย บาดเจ็บอีก 260 คน


โศกนาฏกรรมนี้ เรียกได้ว่าเป็นความสยดสยองถึงขีดสุด เนื่องจากว่าเป็นแมทช์ฉลองแชมป์ของแบรดฟอร์ด ซิตี้ สื่อทุกสำนักในอังกฤษ ล้วนมาตั้งกล้องถ่ายทอดสด ดังนั้น ภาพที่ออกไปสู่สายตาผู้รับสาร จึงได้เห็นการย่างสด การโอดครวญ ทนทุกข์ทรมาน และแผลไฟไหม้ “แบบสด ๆ” โดยไม่ได้ผ่านการเซ็นเซอร์ใด ๆ 


แน่นอน หลังจากนั้น เหตุการณ์นี้เป็นที่ให้ความสนใจของเจ้าหน้าที่อย่างมาก ในการสอบสวนหาสาเหตุ โดยพยานหลักฐานได้ชี้ว่า ต้นเหตุไฟนรกนี้ มาจาก “ขี้บุหรี่” ของแฟนฟุตบอลท่านหนึ่ง คาดว่าสูบตอนกำลังเมาแอลกอฮอล์ จึงทำให้ร่วงหล่นลงไปสู่ใต้ถุนของสนาม ที่มีแต่ “เศษกระดาษ” ประเภทแผ่นพับ สูจิบัตร หรือโปสเตอร์โปรโมท  


และที่สำคัญ สนามวัลเลย์ พาเหรด แห่งนี้ “สร้างด้วยไม้” ทั้งสิ้น


ด้วยเงื่อนไขสองอย่างนี้ ทำให้เพลิงไหม้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว แม้จะมีพยานบุคคลท่านหนึ่งให้การว่า ตนนั้นได้สังเหตุเห็นเชื้อไฟขนาดย่อม ๆ และได้ทำการเทกาแฟลงไปเพื่อดับสิ่งนั้นเรียบร้อย แต่กรรมก็ได้เกิดขึ้น


และนี่เป็นส่วนหนึ่งของ “Consequence” ในโศกนาฏกรรมนี้เท่านั้น


ไหม้เดียวเสียวยกลีก


ผลกระทบประการแรก นั่นคือ ผลกระทบต่อวงการ “สื่อมวลชน” 


ในงานศึกษา The media, affect, and community in a decade of disasters: reporting the 1985 Bradford City stadium fire ได้เสนอว่า เนื่องจากสื่ออังกฤษได้เก็บภาพทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่ต้นจนจบของวัลเลย์ พาเหรด ซึ่งสร้างความสยดสยอง รวมถึงความสะเทือนใจแก่ผู้ที่เป็นญาติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างมาก


อย่าลืมว่า ในสมัยนั้น การสื่อสารยังไม่สะดวกสะบายแบบทุกวันนี้ การรับรู้เรื่องโศกนาฏกกรมจึงมาจากภาพข่าวหรือสกู๊ปที่ได้รับการเซ็นเซอร์มาก่อนหน้า แต่กลับเหตุการณ์นี้ คือการถ่ายทอดสดให้เห็นแบบจะ ๆ จัง ๆ ย่อมต้องสร้างความสะท้านทรวงแก่ผู้ชมเป็นแน่ 


ถึงขนาดที่ผู้ชมกล่าวขวัญว่าเป็น “โศกนาฏกรรมออนแอร์” เลยทีเดียว


เรื่องนี้ ขนาดทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงจริยธรรมสื่อของอังกฤษ และเกิดเป็น Norms แบบกว้าง ๆ มาว่า ในระหว่างการถ่ายทอดสด สื่อจะต้องมี Empathy ต่อเหตุการณ์ สมควรยิ่งที่จะตัดสัญญาณการถ่ายทอดสดนั้น ๆ ไม่ให้ฉายภาพที่สยดสยองจนเกินควร


แต่อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ นั่นคือ การเกิด “ข้อไต่สวนโพพเพอร์เวลล์ (The Popplewell Inquiry)” ซึ่งท้ายที่สุด ได้รับการตราเป็นพระราชบัญญัติเพิ่มเติมใน Safety of Sports Grounds Act 1975 มาว่า 


นับตั้งแต่นี้ต่อไป ห้ามไม่ให้สนามฟุตบอลของสโมสรในอังกฤษสร้างด้วยวัสดุประเภทไม้ หรือวัสดุทดแทนที่ติดไฟง่ายโดยเด็ดขาด ทั้งยังมีการจำกัดการเข้าชมในสนามเพิ่มเติมอีกด้วย


แน่นอน อังกฤษเป็นประเทศที่มีระบบกฎหมาย Common Law แม้จะไม่ได้ตราเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่าง The Football Association หรือ FA และ The English Football League หรือ EFL ต่างต้องน้อมรับโดยดุษฎี


เมื่อมาถึงตรงนี้ ย่อมจะเห็นได้ว่า บางครั้งบางที เหตุการณ์เล็ก ๆ ก็นำไปสู่อะไรที่ใหญ่โตได้ และเหตุการณ์ที่ใหญ่โตมากพอ ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่น่าเชื่อ


กระนั้น หากสิ่งดังกล่าวไม่ใช่โศกนาฏกรรม ย่อมเป็นการดีที่สุด


แหล่งอ้างอิง




ข่าวแนะนำ