ตอนที่ 10 ประชุม APEC 2022 เนื้อหอม ชาตินอกภูมิภาคสนใจเข้าร่วม
แม้ว่าการประชุมเอเปคจะเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่ก็มีหลายชาตินอกภูมิภาคที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอยากเข้าร่วม สะท้อนจากผู้นำหลายชาติที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคในปัจจุบัน แต่ยืนยันมาร่วมประชุมครั้งนี้ที่ไทย เป็นเจ้าภาพด้วย ติดตามได้จากรายงานพิเศษ
นอกจากบรรดาผู้นำและตัวแทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ที่จะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพแล้ว ยังมีอีกผู้นำอีกหลายชาติที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค แต่แสดงความสนใจที่จะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
หนึ่งในนั้นก็คือ ฝรั่งเศส หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลก ที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ อียู โดยประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ยืนยันแล้วว่าจะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมเอเปค 2022 ด้วยตัวเอง
ขณะที่ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ก็มองว่า ฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งในแกนนำของสหภาพยุโรป ได้ให้ความสำคัญเรื่องความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ขณะเดียวกันฝรั่งเศสเองก็ไม่ได้ต้องการปิดกั้นการค้ากับจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกเอเปค ดังนั้น การเดินทางมาเยือนเอเปคครั้งนี้ ฝรั่งเศสก็จะมีโอกาสได้พบปะนอกรอบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เพื่อเจรจาความสัมพันธ์ทางด้านการค้า
เขาต้องการที่จะเห็นศักยภาพตัวเองว่ามีโอกาสที่จะเป็นมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก ฝรั่งเศส เขาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับสหรัฐฯ ในการเล่นงานจีนทุกมิติ เขายังมองว่าจีนมีความสำคัญ ไม่อยากที่จะปิดแนวทางเช่นเดียวกับทางด้านเยอรมนี
ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับเอเชีย-แปซิฟิก เพราะมองว่าเป็นยุคของเอเชีย-แปซิฟิก ในเรื่องการค้า เอเชียแปซิฟิกมีเรื่องของจีน มีเรื่องของญี่ปุ่น มีเรื่องของอาเซียน ประเทศต่างๆ เหล่านี้ ยังมีเรื่องของอาร์เซ็ป (RCEP) เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า ความสัมพันธ์ในด้านนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้มาครง ให้ความสนใจเอเชีย-แปซิฟิก
นอกจากฝรั่งเศสแล้ว ยังมีอีก 1 ประเทศ ที่ถือเป็นมหาอำนาจในด้านพลังงาน ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งยืนยันว่า มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ที่เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ จะทรงเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมเอเปค 2022 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ของไทย
รศ.ดร.สมชาย มองว่า ซาอุดีอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกกำลังอยู่ในช่วงรอยต่อของประวัติศาสตร์ เพราะในอนาคตต้องเผชิญกับกรณีที่ทั่วโลกกำลังใช้พลังงานทดแทน ดังนั้น ต้องมีการปรับโครงสร้างที่เน้นเรื่องการขยายการลงทุนในประเทศต่างๆ และส่งเสริมทางด้านการค้าและการลงทุน จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ซาอุดีอาระเบียจำเป็นต้องเปิดประเทศ และจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น การประชุมเอเปคก็ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ซาอุดีอาระเบียบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ด้านความสัมพันธ์กับไทยอีกครั้ง หลังจากที่ปิดมานานกว่า 30 ปีอีกด้วย
ซาอุดีอาระเบียนี่สำคัญมาก เพราะซาอุดีอาระเบียอยู่ในช่วงรอยต่อของประวัติศาสตร์ เพราะเขารู้เลยว่าโลกในอนาคตเขาจะถูกประเด็นปัญหาเรื่องการใช้พลังงานทดแทน /// เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งว่า การจะทำแบบนี้เขาต้องเปิดประเทศ และจำเป็นต้องเชื่อมโยง
การประชุมเอเปคที่เราได้เชิญเขามา ก็เป็นส่วนสำคัญที่เขาคิดว่า จะเข้ามามีบทบาท แต่ว่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ตอนนี้เป็นประวัติศาสตร์ นั่นก็คือเขากลับมาเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้านความสัมพันธ์กับเราด้วย หลังจากที่ปิดมานานกว่า 30 ปี
นอกจากผู้นำฝรั่งเศส และซาอุดีอาระเบียแล้ว สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนประจำปีนี้ ก็จะเป็นอีก 1 คนที่มีแผนจะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมเอเปคครั้งนี้ด้วย แต่ว่าน่าเสียดายที่เขาติดเชื้อโควิด-19 จึงจำเป็นต้องยกเลิกกำหนดการทั้งหมดในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงกำหนดการเข้าร่วมการประชุมเอเปคที่ประเทศไทย
ห้ามพลาด LIVE!!! บรรยากาศการประชุมเอเปค 2022 พร้อมบทวิเคราะห์
วันที่ 17-18 พฤศจิกายน นี้ เวลา 18.00-19.30 น. ที่นี่!!!
หรือช่องทางอื่น ๆ ของ TNN ได้แก่
• Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo
• FB: https://www.facebook.com/TNNWorld/
https://www.facebook.com/TNNthailand/
• Youtube : https://www.youtube.com/tnn16
• Tiktok TNN World: https://bit.ly/TNNWorldTikTok
หรือติดตามทุกประเด็นสำคัญจากการประชุมเอเปค 2022 ได้ที่
• Website: https://bit.ly/3g6XadH
#เอเปค2022 #APEC2022 #APEC2022THAILAND #APECพร้อมไทยพร้อม #TNN #TNNThailand #TNNช่อง16 #TNNONLINE