ปีแห่งการยกเครื่องเศรษฐกิจจีน กวาดล้างภาคเอกชนและเทคโนโลีตามหลักความรุ่งเรืองร่วมกัน
ปี 2021 นี้ เป็นปีแห่งการปฏิรูป หรืออีกนัยหนึ่งคือ "กวาดล้าง" ภาคธุรกิจและเอกชนของจีน รวมมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 32 ล้านล้านบาท
การปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของจีนมีขึ้น ท่ามกลางการเน้นย้ำความสำคัญของทางการว่า ต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจ "แบบมีคุณภาพ" มากที่สุด ให้กับประชากรทั่วประเทศ มากกว่าที่จะเน้นย้ำที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
"ความรุ่งเรืองร่วมกัน" คือแนวทางหลักในการผลักดันในทุกภาคธุรกิจ ตั้งแต่ อสังหาริมทรัพย์, การศึกษา, เทคโนโลยี และแม้กระทั่งวงการบันเทิง
แต่การปฏิรูปเช่นนี้ ก็ทำให้ภาคธุรกิจและนักลงทุน ต่างตั้งคำถามว่า แล้วอนาคตในด้านนวัตกรรมของจีนจะเติบโตไปในทิศทางใดต่อไป?
---อสังหาริมทรัพย์---
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 จีนได้จัดตั้งนโยบาย "เส้นสีแดง 3 เส้น" เพื่อป้องกันการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ครองตลาดเพียงไม่กี่เจ้า ด้วยเหตุผลที่ว่า "บ้านมีไว้เพื่ออยู่อาศัย ไม่ใช่เพื่อการเก็บกำไร"
นโยบายดังกล่าวจึงเป็นตัวผลักดันให้ตลาดอสังหาฯ ไม่ร้อนแร้งเกินไป หลังจากที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ท่ามกลางการซื้อเก็งกำไรอย่างหนัก
ไม่เพียงเท่านี้ ยังควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่ถูกอ้างว่าเป็ฯการขับเคลื่อนเรื่องสภาพคลอง จนนำไปสู่การเติบโตอย่างมากของนักพัฒนา 2 เจ้าใหญ่ในจีน คือทั้ง Evergrande Group และ Kaisa จนนำมาสู่การผิดนัดชำระเงินกู้เมื่อเดือนตุลาคม และในเดือนตุลาคม จีนยังออกกฎใหม่ ไม่ให้เมืองเล็ก ๆ มีตึกสูงเกินกว่า 250 เมตรด้วย
---ธุรกิจเทคโนโลยี---
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ระงับการเสนอขายหุ้นแก่คนทั่วไป หรือ IPO ของบริษัท Ant Group ของ แจ๊ค หม่า ซึ่งนับเป็นการขาย IPO ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตรการลงทุน
เรื่องนี้ นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า เป็นการปราบแจ๊ค หม่า หลังเขาวิจารณ์หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน และภาคการธนาคาร ไปก่อนหน้านี้
และในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ จีนได้ออกกฎใหม่เพื่อต่อต้าน "กลุ่มทุนผูกขาด" สำหรับบริษัทเทคโนโลยี รวมถึงการที่บริษัทเหล่นี้ จะต้องไม่ใช้อัลกอริธึ่มที่จะทำให้ผู้ใช้บริการต้อง "จ่ายเงิน" มากเกินไป หรือไปรบกวนความเรียบร้อยของสังคม ซึ่ง Alibaba, Tencent และ Baidu ก็เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ถูกปรับจากการเป็นผู้ผูกขาดในวงการ
เมื่อเดือนเมษายน หน่วยงานกำกับดูแลของจีน ได้ลงดาบ Alibaba มูลค่า 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากกฎหมายต่อต้านการผูกขาด และ Ant Group เองก็โดนหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามาขอให้บริษัทกลับมาโฟกัสที่ธุรกิจหลักคือแพลตฟอร์มจ่ายเงิน ขณะที่ธุรกิจให้สินเชื่อหรือธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเองนั้นก็จะต้องทำตามนโยบายของหน่วยงานกำกับดูแล
ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม จีนได้สั่งแบน เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จากการเล่นเกมมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันการเสพติเกม
เดือนกันยายน จีนสั่งห้ามการทำธุรกรรมและการขุด crytocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ขณะที่ภาคธนาคาร, สถาบันการเงิน และบริษัทชำระเงินออนไลน์ ก็ถูกสั่งห้ามจากการทำธุรกรรมเกี่ยวกับ crytocurrency ด้วยเช่นกัน อีกทั้งผุ้จัดการกองทุนก็ถูกห้ามไม่ให้ลงทุนใน crytocurrecty ด้วย
---โรงเรียนกวดวิชา---
เมื่อเดือนกรกฎาคม จีนได้ออกข้อบังคับสำหรับภาคการศึกษา โดยระบุว่า ไม่ต้องการสร้างแรงกดดันให้เด็ก ๆ มากเกินไป และเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียนกวดวิชาสำหรับลูก ๆ ด้วย
โดยจีนได้สั่งห้ามไม่ให้บริษัท หรือโรงเรียนกวดวิชาเอกชนต่าง ๆ ในการลงทะเบียนเป็นธุรกิจไม่แสวงหากำไร และห้ามสอนวิชาที่มีสอนแล้วในโรงเรียน
อีกทั้งบริษัทกวดวิชาเหล่านี้ ยังถูกห้ามไม่ให้ระดมทุนจากต่างประเทศ และการสอนในวันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
การลงดาบโรงเรียนกวดวิชานี้ กระทบต่อมูลค่ามากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะกับบริษัท New Oriental Education and Technology ซึ่งเป็นบริษัทกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดของจีน
---วงการบันเทิง---
เมื่อเดือนสิงหาคม มีอีกประเด็นที่ถูกกล่าวถึงอย่างหนักไปทั่วสังคมจีน เมื่อจีนได้สั่งให้ผู้แพร่ภาพและกระจายเสียง ทำงานร่วมกับคนบันเทิงที่มี "จุดยืนด้านการเมืองที่ไม่ถูกต้อง" และ "ดูมีความอ่อนแอ" กว่าเพศสภาพของตน โดยชี้ว่า เป็น "ความไม่รักชาติ"
---หนทางข้างหน้า---
"ความเจริญร่วมกัน" ตามแนวนโยบายของจีนนี้ หวังจะให้เกิดความยั่งยืน และเป็นตัวเน้นย้ำว่า จีนกำลังก้าวออกจากความเป็น "ทุนนิยมจากโลกตะวันตก" และมุ่งเน้นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการบริโภคที่มุ่งส่งเสริมค่านิยมแบบ "สังคมนิยม"
แม้ว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบช่วงหนัก แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่า ภาคธุรกิจจะสามารถปรับตัวได้ในที่สุด
—————
แปล-เรียบเรียง: ภัทร จินตนะกุล
ภาพ: STR / AFP