TNN องค์กรทั่วโลก รับมือพนักงาน “แห่ลาออก” พิษเงินเฟ้อ เงินเดือนไม่พอยาไส้!

TNN

Wealth

องค์กรทั่วโลก รับมือพนักงาน “แห่ลาออก” พิษเงินเฟ้อ เงินเดือนไม่พอยาไส้!

องค์กรทั่วโลก รับมือพนักงาน “แห่ลาออก” พิษเงินเฟ้อ เงินเดือนไม่พอยาไส้!

Adecco เตือนองค์กรทั่วโลกรับมือ ปรากฏการณ์พนักงานแห่ลาออก พิษเงินเฟ้อ เงินเดือนไม่พอยาไส้ พบอีกว่า ความกังวลเรื่องรายได้ที่ตามไม่ทันค่าครองชีพเป็นผลให้คนทำงาน 51% ตัดสินใจมองหาอาชีพเสริม

นางธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อเด็คโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มบริษัท อเด็คโก้ ได้เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของคนทำงานทั่วโลกต่อรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยปีนี้เป็นปีแรกที่ผลสำรวจได้รวมความคิดเห็นของผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากพนักงานออฟฟิศเข้ามาด้วย นับเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ที่สุดรวม 34,200 คน จาก 25 ประเทศทั่วโลก 

องค์กรทั่วโลก รับมือพนักงาน “แห่ลาออก” พิษเงินเฟ้อ เงินเดือนไม่พอยาไส้!

โดยไฮไลต์ที่น่าสนใจของผลสำรวจในปีนี้ ได้แก่ 3 ใน 5 ของคนทำงานทั่วโลก (61%) แสดงความกังวลต่อรายได้ที่ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นซึ่งเป็นผลพวงจากเงินเฟ้อ

'Quitfluencers' หรือปรากฏการณ์แรงกระเพื่อมทางความรู้สึกอยากลาออก เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คนทยอยลาออกจำนวนมาก โดย 7 ใน 10 คน ยอมรับว่าการเห็นผู้อื่นลาออกทำให้หันมาพิจารณาการลาออกของตัวเอง และในท้ายที่สุดมี 5 ใน 10 คนที่ตัดสินใจลาออกตาม โดย Gen Z ได้รับอิทธิผลมากกว่า Gen อื่น 2.5 เท่า

27% ของคนทำงานทั่วโลกวางแผนจะลาออกภายใน 12 เดือนข้างหน้า เกือบครึ่งหนึ่งหรือ 45% เริ่มหางานแบบจริงจังและมีนัดสัมภาษณ์งานเรียบร้อยแล้ว ส่วน 6 ใน 10 ของคนทำงานทั่วโลก (61%) ตอบว่ารู้สึกมั่นใจว่าสามารถหางานใหม่ได้ภายในไม่เกิน 6 เดือน และคนจำนวนมากเชื่อว่าคนทำงานเป็นฝ่ายกุมอำนาจในการต่อรองมากกว่าบริษัท

ผลสำรวจยังพบอีกว่า ความกังวลเรื่องรายได้ที่ตามไม่ทันค่าครองชีพเป็นผลให้คนทำงาน 51% ตัดสินใจมองหาอาชีพเสริม และ 35% ของคนทำงานที่ไม่ใช่พนักงานออฟฟิศยอมรับว่าได้ประกอบอาชีพเสริมที่จ่ายค่าจ้างเป็นเงินสด เพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับใช้ชีวิต โดยคน Gen Y เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพเสริมมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาที่องค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์การสรรหาและรักษาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการลาออกระลอกใหม่ นี่คือโอกาสที่องค์กรจะได้จัดลำดับความสำคัญของนโยบายต่างๆ โดยยึดความต้องการของคนทำงานเป็นหัวใจสำคัญ 

ที่มาข้อมูล : TNN ONLINE

ที่มาภาพ : TNN

ข่าวแนะนำ