TNN จริงหรือไม่? เปิดมือถือเวลานี้ รังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก ร่างกายเสี่ยงเกิดอันตราย

TNN

TNN Fact Check

จริงหรือไม่? เปิดมือถือเวลานี้ รังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก ร่างกายเสี่ยงเกิดอันตราย

จริงหรือไม่? เปิดมือถือเวลานี้ รังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก ร่างกายเสี่ยงเกิดอันตราย

จริงหรือไม่? เปิดมือถือเวลานี้ รังสีคอสมิกเข้าใกล้โลกร่างกายเสี่ยงเกิดอันตราย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติชี้แจงแล้ว เป็นข้อมูลเท็จ

ตามที่มีข้อความเตือนเกี่ยวกับเรื่องเปิดโทรศัพท์มือถือเวลา 00:30-03:30 น. รังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก ทำให้ร่างกายเกิดอันตราย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ


กรณีการส่งต่อข้อความเตือนเรื่องห้ามเปิดโทรศัพท์ในเวลา 00:30-03:30 น. เพราะรังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก จะทำให้ร่างกายเกิดความเสียหาย ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ได้มีการทำนายการมาของรังสีคอสมิกที่จะเกิดขึ้นในช่วง 00:30-03:30 น. ตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งรังสีคอสมิกนั้นเป็นเพียงเศษส่วนเล็กน้อยของปริมาณรังสีที่มนุษย์ได้รับประจำในแต่ละปี และแม้ว่ารังสีคอสมิกอาจจะส่งผลต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของมนุษย์ได้แต่อย่างใด


โดยรังสีคอสมิกที่ชนเข้ากับชั้นบรรยากาศของโลกนั้น เป็นแหล่งที่คงรักษาปริมาณคาร์บอน-14 ในชั้นบรรยากาศให้เกือบคงที่ตลอด 100,000 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้แล้ว รังสีคอสมิกที่บังเอิญชนเข้ากับชิ้นส่วนชิปของคอมพิวเตอร์ในบางครั้งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียหรือได้รับประจุอิเล็กตรอน ซึ่งส่งผลต่อการประมวลผลที่ผิดพลาดในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “soft error” ในปี 1990 บริษัท IBM ได้มีการประมาณการว่า รังสีคอสมิกนั้นอาจจะทำให้การประมวลผลในคอมพิวเตอร์ผิดไป 1 ตำแหน่ง ทุก ๆ 256 เมกะไบต์ (สองพันล้านบิต) ในทุก ๆ เดือน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของรังสีคอสมิกที่มีต่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นเกิดขึ้นเพียงภายในซอฟต์แวร์ และไม่สามารถส่งผลกระทบต่อมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ข้างอุปกรณ์เหล่านั้นได้


ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.narit.or.th โทร. 0531212689



ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง