TNN เปิด 10 อันดับ "ข่าวปลอม" ที่คนสนใจสูงสุด เช็กเลยอย่าหลงเชื่อ!

TNN

TNN Fact Check

เปิด 10 อันดับ "ข่าวปลอม" ที่คนสนใจสูงสุด เช็กเลยอย่าหลงเชื่อ!

เปิด 10 อันดับ ข่าวปลอม ที่คนสนใจสูงสุด เช็กเลยอย่าหลงเชื่อ!

ดีอีเอส สรุปผลการมอนิเตอร์สถานการณ์รอบสัปดาห์ พบ 8 ใน 10 อันดับข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจมากสุด อยู่ในกลุ่มนโยบายรัฐ/ข่าวสารทางราชการ

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 24-30 มิ.ย.65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม  มีจำนวนข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 11,677,059 ข้อความ คัดกรองแล้วพบข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 243 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 130 เรื่อง 

สำหรับจำนวนเรื่องที่เกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบในสัปดาห์ส่งท้ายกลางปี 65 หลักๆ อยู่ในกลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม และกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพฯ โดยมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเชิงลึก (Insight) พบว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับข่าวสารราชการและนโยบายรัฐ โดยใช้หัวข้อที่คนส่วนใหญ่สนใจหรือคิดว่าตนจะได้ประโยชน์ เพื่อหลอกลวงให้คนสนใจคลิกเข้ามาอ่านและแชร์ จนทำให้มีจำนวน 8 ข่าวที่ติดอยู่ใน 10 อันดับข่าวปลอมคนสนใจสูงสุด 

ทั้งนี้ ข่าวที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับแรกในรอบสัปดาห์ ประกอบด้วย 

อันดับ 1 เว็บไซต์จากกรมบัญชีกลาง ใช้เช็คสิทธิลงทะเบียนรับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง 

อันดับ 2 หนังสือเรียนวิชาอิสลาม ระบุห้ามไหว้ผู้มีพระคุณเพราะผิดหลักศาสนา 

อันดับ 3 ไปรษณีย์ไทย ส่งจดหมายถึงลูกค้าให้สแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อกรอกแบบสอบถาม 

อันดับ 4 กรุงไทย ส่ง SMS ให้ประชาชนให้สามารยื่นกู้ได้จำนวน 210,000 บาท ผ่านลิงก์ 

อันดับ 5 ธ.ออมสิน เปิดตัวสินเชื่อไทรทอง ให้กู้ 1 แสนบาท ผ่อน 700 บาท

อันดับ 6 ออมสินปล่อยกู้ผ่านเฟซบุ๊ก Gthtfjfh 

อันดับ 7 บริษัท H.P.A Thailand ร่วมกับ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รับสมัครงานเพื่อสร้างการลงทุนถูกต้องตามกฎหมายชารีอะฮ์ 

อันดับ 8 ออมสิน ปล่อยสินเชื่อประชาชนสุขใจ วงเงินกู้ 200,000 บาท ไม่ต้องใช้คนค้ำ 

อันดับ 9 เรื่อง D-Kout ผลิตภัณฑ์รักษาโรคเก๊าท์ ช่วยลดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง 

อันดับ 10 สลากออมสินซื้อผ่านเพจหวยออนไลน์ได้แล้ว

ประชาชนต้องรู้เท่าทันข่าวปลอม และมีความรอบคอบในการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งต่อกันมาทางโซเชียล เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter  เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87” นางสาวนพวรรณกล่าว





ที่มา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ