TNN วิตามินบี สามารถลดการเกิดภาวะใหลตายหรือหัวใจล้มเหลว จริงหรือ?

TNN

TNN Fact Check

วิตามินบี สามารถลดการเกิดภาวะใหลตายหรือหัวใจล้มเหลว จริงหรือ?

วิตามินบี สามารถลดการเกิดภาวะใหลตายหรือหัวใจล้มเหลว จริงหรือ?

หลังจากมีประเด็น "วิตามินบี" สามารถลดการเกิดภาวะใหลตายหรือหัวใจล้มเหลว ล่าสุดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีคำตอบ เช็กเลยจริงหรือมั่ว

วันนี้( 7 มิ.ย.65) ตามที่มีการแนะนำข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องวิตามินบีสามารถลดการเกิดภาวะใหลตายหรือหัวใจล้มเหลว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์บทความในสังคมออนไลน์โดยระบุว่าวิตามินบี อาหารเสริมที่ช่วยลดการเกิดภาวะใหลตาย ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงว่า โรคใหลตาย (Brugada Syndrome) เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรค Cardiac channelopathy หรือโรคทางพันธุกรรมที่โครงสร้างหัวใจปกติ (normal structural heart) มีการเปลี่ยนแปลงของยีน (SCN5A) ของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ Ion channel ของ Sodium ทำงานผิดปกติ 

ผู้ป่วยจะมีกราฟไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ มีลักษณะจำเพาะ (Coved-type ST-segment elevation V1-V3) ทำให้ง่ายต่อการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดรุนแรง (polymorphic VT , ventricular fibrillation) ซึ่งทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน สำหรับการรักษาผู้ป่วย Brugada Syndrome ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาโดยการผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ และการรักษาอาการโดยการใช้ยา

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : โรคใหลตายเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรค Cardiac channelopathy หรือโรคทางพันธุกรรมที่โครงสร้างหัวใจปกติมีการเปลี่ยนแปลงของยีน กล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ Ion channel ของ Sodium ทำงานผิดปกติ การรักษาที่สำคัญ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาโดยการผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ และการรักษาอาการโดยการใช้ยา





ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ