TNN ข่าวจริง! "อะโวคาโด" ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

TNN

TNN Fact Check

ข่าวจริง! "อะโวคาโด" ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ข่าวจริง!  อะโวคาโด ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยัน "อะโวคาโด" สามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้จริง

วันที่ 14 ก.พ. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการยืนยันว่าเป็นข่าวจริง เพิ่มเติม 1 กรณีคือ


กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ประเด็นเรื่อง อะโวคาโดช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง


อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดี โดยร้อยละ 70 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fatty acid:MUFA) และใยอาหารสูง รวมทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมีต่าง ๆ เช่น ลูทีน ซีแซนทีน การกินอะโวคาโด ช่วยลดการอักเสบ ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-C) รวมทั้งมีผลเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) ที่เป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


อย่างไรก็ตามอะโวคาโดนั้นก็ได้ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีวิตามินเคสูง จึงควรระมัดระวังในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน (warfarin) เพราะอาจไปยับยั้งกลไกต้านการแข็งตัวของเลือดของยาได้ และยังมีพลังงานสูง ปริมาณ 100 กรัม (ประมาณ ½ ผล) มีพลังงาน 160 กิโลแคลอรีเลยทีเดียว จึงแนะนำให้กินไม่เกินครึ่งผลต่อครั้ง และในแต่ละวันควรกินผลไม้ให้หลากหลายชนิดและสี ตามฤดูกาล เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน


ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/ หรือโทร. 02 590 4332


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อะโวคาโดช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


ข่าวจริง!  อะโวคาโด ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตข่าวปลอม สร้างข่าวบิดเบือน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ประชาชนสับสน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2),(5) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ผลิตข่าวปลอมและผู้ที่เผยแพร่ทุกรายอย่างเด็ดขาดจริงจังและต่อเนื่องต่อไป


ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบข้อมูลการกระทำผิด สามารถแจ้งเบาะแสข่าวผ่าน 5 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com, เฟซบุ๊ก ANTI-FAKE NEWS CENTER, ทวิตเตอร์ @AFNCThailand, ไลน์ @antifakenewscenter, ช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 และสายด่วน 1599 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”


ภาพ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ข่าวแนะนำ