TNN เตือนระวังข่าวเก่าทำสับสนช่วงโควิด-ยันยังไม่มีล็อกดาวน์ ไม่มีเคอร์ฟิว

TNN

TNN Fact Check

เตือนระวังข่าวเก่าทำสับสนช่วงโควิด-ยันยังไม่มีล็อกดาวน์ ไม่มีเคอร์ฟิว

เตือนระวังข่าวเก่าทำสับสนช่วงโควิด-ยันยังไม่มีล็อกดาวน์ ไม่มีเคอร์ฟิว

ดีอีเอส เตือน ประชาชนระวังข่าวเก่าทำสับสนช่วงโควิด-19 พบสัปดาห์แรกของปี มีข่าวปลอม 20 เรื่อง “ชัยวุฒิ”ย้ำยังไม่มีล็อกดาวน์ ไม่มีเคอร์ฟิว หลังพบข่าวเก่าว่อน

วันที่ 8 มกราคม 2564 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยสถานการณ์ข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 1-7 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัปดาห์แรกของปี 2565 พบข่าวปลอม 20 เรื่อง  และข่าวบิดเบือน 1 เรื่อง  จาก  เรื่องที่มีการส่งตรวจสอบ 60 เรื่อง  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ และนโยบายของรัฐ  โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงเฝ้าระวังหลังเทศกาลปีใหม่ทำให้มีการแชร์ข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก


ซึ่งนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส แสดงความเป็นห่วงประชาชนที่รับข้อมูลข่าวสารในช่วงนี้ขอให้ตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆด้าน ทั้งจากหน่วยงานรัฐโดยตรงหรือสื่อมวลชนที่มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะช่วงนี้ มีการนำข่าวเก่าที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุมโควิด-19 ในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง มาเผยแพร่ซ้ำกันมาก ทั้งเรื่องการล็อกดาวน์ ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด หรือการเคอร์ฟิว  จนทำให้ประชาชนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงตื่นตระหนก ทั้งที่มาตรการตอนนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ ควบคุมการแพร่บาดอย่างใกล้ชิด และบังคับใช้มาตรการต่างๆให้กระทบกับประชาชนน้อยที่สุด ยืนยันว่ายังไม่มีการล็อกดาวน์ หรือประกาศเคอร์ฟิว ตามที่มีการนำข่าวเก่ามาเผยแพร่ซ้ำกัน จึงขอให้ประชาชนตรวจสอบให้ชัดเจน โดยเฉพาะภาพข่าว หรือ อินโฟกราฟฟิกข่าว ที่ไม่ได้ระบุวันที่และเวลาไว้ จนสร้างความสับสนให้กับประชาชน


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ยังเปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค.64 – 2 ม.ค.65 พบว่ามีการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำนวน 19 ยูอาร์แอล แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 11 ยูอาร์แอล ยูทูบ 6 ยูอาร์แอล และทวิตเตอร์ 2 ยูอาร์แอล

 

ซึ่งการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ดีอีเอส ได้ประสานหน่วยงานเจ้าของเรื่องมาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแล้ว โดยในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว ศาลสั่งปิดกั้นและลบเนื้อหาที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แล้ว 2 คำสั่ง จำนวน 50 ยูอาร์แอล ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง


ภาพ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

ข่าวแนะนำ