TNN มิติใหม่แห่งการรักษา ยุค IoMT หนุนหุ้น Healthcare โตก้าวกระโดด

TNN

TNN Exclusive

มิติใหม่แห่งการรักษา ยุค IoMT หนุนหุ้น Healthcare โตก้าวกระโดด

มิติใหม่แห่งการรักษา  ยุค IoMT หนุนหุ้น Healthcare  โตก้าวกระโดด

ยุคนิวนอร์มอลการรักษาพยาบาลปัจจุบันได้ประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ หวังเพิ่มประสิทธิภาพต่อการรักษาโรคต่าง ๆ ให้มีประสิทธิ ภาพสูงสุด ล่าสุดเกิดเทรนด์ใหม่มาแรง IoMT หนุนหุ้น Healthcare เติบโตก้าวกระโดด โดยวิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT™ Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่ถูกขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทางการแพทย์ นอกจากนั้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ หรือที่เรียกว่า Non-communi cable Diseases (NCD) อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดชนิดต่างๆ ยังส่งผลให้การรักษาพยาบาลถูกประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา


เกิดเทรนด์ใหม่ในอนาคตหรือที่เราเรียกว่า Internet of Medical Things (IoMT) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทรนด์ในเรื่อง Technology ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ และ Healthcare หรือการรักษาพยาบาล ทำให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ทั้งผู้ป่วย แพทย์ อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดการด้านยารักษา ถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน 


ซึ่งบทวิจัยที่เผยแพร่โดย Fortune Business Insight คาดว่ามูลค่าตลาดของ IoMT จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด จาก 1.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 เป็น 1.42 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2026 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยทบต้นสูงถึง 28.9% ต่อปี


IoMT ถือได้ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นาน โดยเริ่มต้นในปี 2016 บริษัท Roche ได้ทำการเปิดตัว Bluetooth ตัวแรกที่ใช้งานกับอุปกรณ์ด้านสุขภาพภายในบ้าน ซึ่งอุปกรณ์นี้ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสามารถติดตามตัวต้านวิตามินเค (Vitamin K Antagonist) และช่วยควบคุมสถานะการแข็งตัวของเลือดได้ดียิ่งขึ้น 


นอกจาก IoMT จะช่วยผู้ป่วยและทีมแพทย์ในการติดตามการรักษาและอาการของผู้ป่วยได้อย่าง Real-time หรือที่เรียกว่า Remote Patient Health Monitoring (RPHM) แล้ว การจัดเก็บของมูลต่างๆ และประวัติการรักษาของผู้ป่วยจะถูกเก็บแบบ Digital บนระบบ Cloud  Computing ช่วยลดปัญหาเรื่องเอกสารสูญหายและยังสามารถแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้อยู่เสมอ 


อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนโดยรวมในการเข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกด้วย ซึ่งล้วนเป็นเหตุผลที่เอื้อให้เทรนด์ IoMT เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด 


สำหรับภาครัฐเองก็มีการสนับสนุนธุรกิจในเทรนด์ของ IoMT ด้วยเช่นเดียวกัน อาทิ การให้ผลประโยชน์ด้านภาษีและการสนับสนุนเงินวิจัย 


โดยจากผลสำรวจพบว่าในปี 2020 อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมต่อกับระบบ Bluetooth และ Internet คิดเป็น 48% ของอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมด และภายในปี 2025 จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 68% 


นอกจากนี้ผู้ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา โดยในปี 2020 งบ R&D สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ประมาณ 34% ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 42% ภายในปี 2025


จากบทวิจัยพบว่าในปัจจุบันมีกลุ่มผู้ป่วยที่คุ้นเคยกับระบบ RPHM เพียง 10% เท่านั้น ในขณะที่วงการแพทย์ต่างยอมรับว่านี่คือระบบที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ในการเฝ้าสังเกตุอาการและการรักษาของผู้ป่วยในปัจจุบัน และ


นอกจากระบบ RPHM จะช่วยให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้ว สำหรับผู้เกี่ยวข้องด้านอื่น ยังได้รับประโยชน์อย่างมากด้วยเช่นกัน โดยผู้ดูแลหรือองค์กรสาธารณะสุขจะสามารถเข้าถึงข้อมูลค่า Parameters ต่างๆ ของผู้ป่วยได้อย่าง Real-time ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ที่ใด ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง รวดเร็ว และน่าเชื่อถือมากขึ้น 


ซึ่งจะส่งผลต่อการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์ ตลอดจนอาจช่วยประหยัดต้นทุน เนื่องจากการรักษาที่ทันท่วงทีจะช่วยลดการเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาลของผู้ป่วย 


สำหรับบริษัทประกันก็มีส่วนได้รับประโยชน์จากระบบนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากสามารถเฝ้าสังเกตุการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยได้ ว่าได้ทำตามข้อบังคับต่างๆ หรือไม่ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจต้องเสียจากการขอเบิกวงเงินความคุ้มครองจากผู้เอาประกัน ตลอดจนช่วยลดระยะเวลาในการทำเอกสารต่างๆ ให้รวดเร็วมากขึ้น


ถือได้ว่าเทรนด์ IoMT นี้เป็นอีก 1 ใน Megatrends ที่น่าสนใจจากการขยายตัวของมูลค่าตลาดดังที่กล่าวไว้ข้างต้น และหากพิจารณาจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และอยู่ในเทรนด์ IoMT เราจะพบว่าบริษัทเหล่านี้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดทั้งในแง่ของผลประกอบการและราคาหุ้น อาทิ บริษัท Telladoc ผู้นำด้านการให้บริการ Telemedicine ซึ่งให้บริการ Video Conferencing ที่เชื่อมโยงระหว่างคนไข้และบุคคลากรทางการแพทย์ ผ่านโทรศัพท์และเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต


โดยรายได้ของบริษัทเติบโตจาก 2.3 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017 เป็นกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 คิดเป็นการเติบโตกว่า 4 เท่า ในช่วง 4 ปี ทำให้ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 16.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหุ้นเป็นราว 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหุ้น              

          

ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีช่วยหนุนให้เกิดบริการใหม่ ตลอดจนต่อยอดของเดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Innovative Healthcare ที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการการรักษาแบบเดิมๆ ให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 


ซึ่งเทรนด์ IoMT จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรม Healthcare แห่งอนาคตและเป็นโอ กาสในการลงทุน  เพื่อสร้างผลกำไรให้กับนักลงทุนอย่างงดงาม


ข่าวแนะนำ