TNN เช็กเงื่อนไขแบงก์พักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ-แบงก์ไหนร่วมมาตรการบ้าง?

TNN

TNN Exclusive

เช็กเงื่อนไขแบงก์พักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ-แบงก์ไหนร่วมมาตรการบ้าง?

เช็กเงื่อนไขแบงก์พักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ-แบงก์ไหนร่วมมาตรการบ้าง?

เปิดเงื่อนไขมาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงิน ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยพยุงสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่อยู่ในพื้นที่ล็อกดาวน์สกัดโควิด-19 ใครสามารถใช้สิทธิได้ และเริ่มเมื่อไหร่ เช็กได้ที่นี่!

จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ได้เล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ ด้วยการออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง  โดยเฉพาะกลุ่มนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมและนอกพื้นที่ควบคุม ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป และเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้ สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระของลูกหนี้  หลายคนอาจจะยังสงสัยว่าหนี้สินที่เรามีอยู่ สามารถเข้าร่วมมาตรการได้หรือไม่  ดังนั้น TNN ONLINE จึงรวบรวมรายละเอียดมาฝาก 

ใครบ้างที่สามารถเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้?

1. กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องปิดกิจการจากคำสั่งทางการ ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 

2. กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ซึ่งเงื่อนไขนี้ สถาบันทางการเงินจะพิจารณาช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้อีกครั้ง

ต้องการพักชำระหนี้ทำอย่างไร?

ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ  โดยหากมีหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบที่ได้รับจากมาตรการรัฐ จะทำให้พิจารณาความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น 


เช็กเงื่อนไขแบงก์พักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ-แบงก์ไหนร่วมมาตรการบ้าง?

อย่างไรก็ตาม การพักชำระดอกเบี้ยและเงินต้น เป็นเพียงการเลื่อนออกไปเท่านั้น ลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการชำระหนี้ ควรชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้หนี้ในอนาคตสูงเกินจำเป็น เช่นเดียวกับลูกหนี้ที่มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ก็ควรดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาตรงจุดและยั่งยืนกว่า  โดยการพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการนี้ เป็นการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำ สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้มากขึ้นตามความเหมาะสม

มาตรการพักหนี้เริ่มเมื่อไหร่ 

ลูกหนี้สามารถแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 64 เป็นต้นไป
ธนาคารไหนเข้าร่วมมาตรการบ้าง?

ในส่วนของมาตรการดังกล่าว สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) และธนาคารสมาชิกทุกแห่ง ได้ตอบรับนโยบายดังกล่าวแล้ว ซึ่งลูกหนี้ของธนาคารสมาชิกสมาคม สามารถติดต่อเข้าร่วมมาตรการได้ ได้แก่ 

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.)
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ธอท.)
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้าร่วมด้วย

นอกจากนี้ยังมีแบงก์พาณิชย์บางแห่งที่เริ่มทยอยประกาศพักหนี้ช่วยลูกหนี้ 2 เดือนด้วยเช่นกัน  ล่าสุดมี ธนาคารกรุงเทพ ออกมาประกาศร่วมมาตรการแล้วเป็นรายแรก

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213

เช็กเงื่อนไขแบงก์พักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ-แบงก์ไหนร่วมมาตรการบ้าง?


ข่าวแนะนำ