TNN ล้วงใจ "น้องเบียร์" ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

TNN

TNN Exclusive

ล้วงใจ "น้องเบียร์" ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

น้องเบียร์ ด.ญ.วรรณา ชูศักดิ์ นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม เปิดเผยเรื่องราวก้นบึ้งหัวใจ ที่มาที่ไปช่วยแม่ทำงาน "ภารโรง" หลังเลิกเรียนและวันหยุด ทั้ง กวาด ถู ล้างห้องน้ำ ทิ้งขยะ สารพัดงานหนัก เผย ห่วงแม่หลังสุขภาพไม่ดี ย้ำไม่อายมีแม่เป็นภารโรง ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็เป็นแม่ของเรา

เมื่อครั้งที่ทีมข่าวได้มีโอกาสเข้าไปยังโรงเรียนแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพฯ กวาดสายตามาองไปรอบๆ กลับไปสะดุดอยู่ที่ภารโรงรายหนึ่งกำลังเข็นขยะเพื่อไปทิ้ง แต่ก็อดเอะใจไม่ได้ว่า ทำไมภารโรงที่นี่ดูเด็ก อายุไม่น่าจะเกิน 18 ปี จึงสอบถามไปยังคุณครูว่า ที่นี่รับภารโรงอายุน้อยขนาดนี้เชียวหรือ? แต่คำตอบที่ได้รับกลับทำให้คนถามเข้าใจผิด เพราะหญิงสาวที่เห็นนั้น ไม่ใช่ภารโรง แต่เป็นลูกสาวของภารโรงในโรงเรียน "เธอมาช่วยแม่ทุกวัน" คุณครูไขความสงสัย

จากวันนั้น จนวันนี้ ทีมข่าว TNN ONLINE ได้มีโอกาสจับเข่าพูดคุยกับ น้องเบียร์ ด.ญ.วรรณา ชูศักดิ์ นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม ล้วงลึกถึงที่มาที่ไป เหตุผลต้องมาทำงาน "ภารโรง" ทั้งที่สวมชุดนักเรียน 

น้องเบียร์ เริ่มเล่าที่มาที่ไปว่า เกิดที่พิษณุโลก และตอน 5 ขวบได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ กับพ่อและแม่ และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ แม่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง แต่มาเจอพิษโควิดจึงต้องออกจากงาน จากนั้น เพื่อนของแม่ได้ชักชวนให้มาทำงานที่นี่ โดยเพิ่งทำได้เพียง 7 เดือนเท่านั้น

โดยน้องเบียร์ จะช่วยแม่ทำงานหลังเลิกเรียน และช่วงวันหยุด โดยกวาด ถู พื้นบนอาคารเรียนทั้ง 4 ชั้น รวมทั้ง ล้างห้องน้ำ และเก็บขยะไปทิ้งด้วย

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

- ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง! สัมผัส 1 ชีวิตวัยรุ่นหลังเลิกเรียน ช่วยแม่กวาดถู-เก็บขยะ -

ช่วงชีวิตวัยรุ่นหลังเลิกเรียน บางคนก็ไปเรียนพิเศษ บางคนไปเที่ยวกับเพื่อน บางคนจับกลุ่มพูดคุย เล่นกีฬา ทำกิจกรรมต่างๆ แต่สำหรับ "น้องเบียร์" แล้วนั้น ต้องช่วยแม่ทำงานจนเสร็จภารกิจก่อน จึงจะสามารถไปไหนต่อไหนตามต้องการได้

น้องเบียร์ เล่าว่า "หลังเลิกเรียนก็จะต้องมาช่วยแม่ทำงานให้เสร็จก่อน ส่วนการบ้านก็กลับไปทำที่บ้าน แต่ก็มีบ้างบางวันที่ขออนุญาตแม่ ไปนั่งเล่น คุยกับเพื่อนที่ห้องสมุดของโรงเรียน พอแม่เลิกงาน 5 โมงเย็นก็กลับบ้านพร้อมกัน ถามว่าเสียดายโอกาสที่ไม่ได้ไปเที่ยวกับเพื่อนไหม เพราะต้องช่วยแม่ทำงาน ก็ไม่เสียดายค่ะ เพื่อนไว้ทีหลังได้ แม่เรามาก่อน"

"เหตุผลที่มาช่วยแม่ทำงาน เป็นเพราะว่า แม่สุขภาพไม่ค่อยดีค่ะ เป็นโรคความดันโลหิตสูง ล่าสุดแม่รถล้ม ขาเจ็บเดินไม่ค่อยไหว ก็อยากแบ่งเบาภาระ ที่จริงหนูก็เป็นห่วงแม่ด้วยแหละ ไม่อยากให้แม่อยู่คนเดียว เพราะอย่างวันเสาร์ แม่เข้าเวรก็จะมีแค่ภารโรงกับครูเวรมาทำงานเท่านั้น"

น้องเบียร์ ยอมรับว่า แรกๆ ก็รู้สึกอายที่แม่เป็นภารโรง และต้องมาช่วยงานแม่ รู้สึกแปลกเหมือนกันที่แม่มาทำงานในโรงเรียนที่ตัวเองเรียนอยู่ แต่มีคำพูดที่ว่า "เราไม่ได้เกิดมาเพื่อแคร์คนทั้งโลก" และคนๆ นี้ก็คือ "แม่ของเรา" ไม่ว่าแม่จะเป็นใคร จะทำอาชีพอะไรก็เป็นแม่ของเรา หลังจากนั้นก็ไม่ได้รู้สึกอายอีกแล้ว ส่วนเพื่อนๆ ก็ดี ไม่มีใครล้อแถมยังเข้าใจเวลาที่ต้องไปช่วยแม่ทำงานด้วย

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

- เปิดใจ "แม่โหน่ง" กลัวลูกอายเพื่อน มีแม่เป็นภารโรง -

"น้าโหน่ง" กาญจนา ศิริโสภณ อายุ 53 ปี แม่ของน้องเบียร์ ยอมรับว่า เป็นห่วงลูกที่เห็นลูกมาช่วยงานตัวเอง กลัวลูกจะเหนื่อย และกลัวอายเพื่อนด้วย เวลาไหนที่มีเด็กนักเรียนเดินผ่านมาเยอะก็จะไม่ให้ลูกทำ กลัวลูกอายเพื่อน เพราะน้องเบียร์ก็โตเป็นวัยรุ่นแล้ว แต่หากช่วงไหนที่นักเรียนกลับบ้านไปหมดถึงจะให้ลูกช่วยทำงาน

"ตอนเด็กเดินมาเยอะๆ น้าก็บอกเลยว่า เบียร์ไม่ต้องทำลูก เดี๋ยวแม่ทำเอง เพราะเราก็สงสารลูก กลัวอาย เด็กบางคนเขาก็มองมาที่ลูกเราก็สงสาร แต่เบียร์เขาก็ยังทำต่อไป เหมือนไม่ได้สนใจ เราก็เข้าใจว่าลูกสงสารเรา เพราะสุขภาพไม่ดี เมื่อก่อนนี้ลูกไม่ต้องช่วยก็ได้ ทำได้หมด"

น้าโหน่ง กล่าวด้วยว่า หากมีงานที่ดีกว่าก็คงจะไป แต่ตอนนี้เป็นห่วงลูก เหมือนการทำงานภารโรง ยังได้ใกล้ชิดกับลูกมากขึ้น รู้ว่าวันนี้ลูกมาโรงเรียนหรือไม่ ทำอะไร เรียนอยู่ที่ห้องไหน ยอมรับว่าทั้งหวงทั้งห่วงลูก เพราะเป็นลูกคนเดียว 

"น้องเบียร์เป็นคนขยัน ช่วยแม่ทำงาน กลับบ้านไปก็ยังช่วยซักผ้า ไม่เกเร ไม่หนีเที่ยว บ้านเราคุยกันตรงๆ อยากไปเที่ยวขอให้บอก ไม่ห้ามแต่ต้องกำหนดเวลาไม่ให้กลับเย็นเกินไป"

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

- ที่สุดความรักของแม่! มาม่าซองเดียว ให้ลูกกินเส้น แม่ซดน้ำ -

น้าโหน่ง เผยว่า ทุกวันนี้ตนมีรายได้เดือนละ 8,000 บาท ใช้ชีวิตแบบปากกัดตีนถีบ มีค่าเช่าบ้าน ค่ากิน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากมาย โดยแบ่งให้ลูกไปโรงเรียนวันละ 60 บาท แต่ถ้าไม่พอให้มาขอแม่ได้ เพราะเป็นคนจน จะใช้เงินแต่ละบาทต้องคิดก่อน

"กว่าจะมาถึงวันนี้ลำบากมากค่ะ กินข้าวคลุกน้ำตาเลย ยิ่งช่วงโควิดปีที่ผ่านมา เราตกงาน ที่บ้านมีมาม่าอยู่ซองเดียว ก็ต้มให้ลูกกินเส้น ส่วนเราก็กินน้ำ และยังเคยหอบลูกหนีไปนอนที่อื่น เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน" น้าโหน่ง ย้อนเล่าอดีต

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

- ทำงานเพื่อลูก ส่งเรียนให้สูง จนกว่าแม่จะหมดกำลัง -

น้าโหน่ง เผยว่า น้องเบียร์อยากเรียนอะไรไม่ห้าม เพราะมองว่าการบังคับลูกเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบลูกก็คงจะเรียนไม่ไหว ก็ต้องตามใจให้ทำในสิ่งที่ชอบ เพื่ออนาคตจะได้ไปได้ดี ถึงแม้วันนี้ร่างกายจะไม่แข็งแรงเต็ม 100% แต่ก็จะพยายามตั้งหน้าตั้งตาทำงาน เพื่อจุดหมายเดียวคือลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนคนนี้ เพื่อให้ได้เรียนสูงที่สุด เท่าที่กำลังกายจะมีแรงทำงานส่งเสียลูกได้ 

"เรามักจะสอนลูกว่า อย่าทำอะไรให้เสียการเรียน อยากให้ลูกรักการเรียนจะได้มีอนาคต ไม่ใช่ว่ามาต่ำต้อยหรือมาลำบากเหมือนแม่ ทุกวันนี้ทำเพื่อลูก อยากจะกลับต่างจังหวัดไปทำนาทำไร่ก็ได้ แต่น้องเบียร์อยากเรียนที่นี่"

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

- ผอ.โรงเรียน จ่อส่งชื่อ "น้องเบียร์" รับทุนการศึกษา -

ด้าน น.ส.อาภาพร วรรณสุนธยา ผู้อำนวยการโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม กล่าวว่า เด็กที่โรงเรียนนี้ ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีความพร้อม ไม่ใช่เฉพาะน้องเบียร์ สำหรับโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่ถูกแวดล้อมด้วยโรงเรียนยอดนิยมหลายแห่ง ถ้าเด็กที่มีความพร้อมส่วนใหญ่จะเลือกไปอยู่ตรงนั้น ซึ่งเด็กที่อยู่ในโรงเรียนนี้ ก็จะมีทั้งกลุ่มที่ครอบครัวไม่พร้อม เด็กมีความหลากหลาย ไม่ใช่กลุ่มที่ถนัดด้านการเรียนเป็นหลัก แต่ก็มีที่เรียนเก่ง ซึ่งบางครั้งเป้าชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ จะแตกต่างกับที่อื่น 

ดังนั้น สิ่งที่จะต้องดูแลให้ความสำคัญ บางครั้งอาจจะไม่ใช่เรื่องการเรียนก่อน แต่เป็นเรื่องปัจจัยในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่คุณครูจะต้องไปให้ความสำคัญเรื่องพวกนั้นก่อนเป็นหลัก

นอกจากนี้ เรื่องการเรียนไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะทางโรงเรียนสามารถหาทุนการศึกษามาสนับสนุนได้ และตอนนี้มีทุนสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก และยังมีทุนจาก กยศ. ของรัฐบาลด้วย 

ในส่วนของทุนการศึกษานั้น กระทรวงศึกษาธิการ จะมีทุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน และล่าสุดมีทุนต่อเนื่องจากผู้ไม่ประสงค์ออกนาม มอบให้ทางโรงเรียนเพื่อคัดเลือกเด็กนักเรียนให้ได้รับทุนดังกล่าว โดยจะเป็นทุนส่งให้เรียนจนจบชั้น ม.6 โดยคิดว่า "น้องเบียร์" จะเป็น 1 ในนั้นที่จะได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนดังกล่าว

นอกจากนี้ ทางวัดลาดปลาเค้า มีโครงการ "ข้าวถุงพยุงชีวิต" แจกข้าวสารถุงละ 5 กก. ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  ทั้งผู้พิการ ผู้ยากไร้ รวมทั้ง บุคลากรในโรงเรียนที่เป็นนักการภารโรงด้วย

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!

- ครูสุดภาคภูมิ ศิษย์ยอดกตัญญู ไม่รังเกียจรากฐาน มีความสุขกับสิ่งที่เป็น -

ผู้อำนวยการโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม กล่าวว่า "เท่าที่สัมผัสจากที่เจอกันและสอบถามคุณครู น้องเบียร์เป็นเด็กตั้งใจเรียน ไม่เก็บตัว ร่าเริงเป็นปกติ ไม่ถึงกับกล้าแสดงออกมาก แต่สามารถพูดคุยสื่อสารโต้ตอบได้ดี ช่วงโควิดเด็กคนอื่นๆ ก็จะอยู่บ้านกัน แต่น้องเบียร์มาช่วยน้าโหน่งทำงาน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็มา ทำให้รู้สึกว่าหาได้ยากที่เด็กวัยรุ่นยุคนี้ ไม่อายที่จะบอกว่าคุณแม่เป็นใคร ทำงานอะไรในโรงเรียน 

ถ้าถามถึงความภาคภูมิใจในตัวนักเรียน ก็ถือว่าอยู่ในระดับมาก ครูทำงานมาหลายโรงเรียน เจอเด็กที่มีความยากลำบาก หลากหลาย แต่น้องเบียน์ไม่รังเกียจรากฐานของตัวเอง มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมี เป็นเด็กที่มีภูมิคุ้มกันตัวเองในการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่น สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ภายใต้ความไม่พร้อมของตัวเอง เขาก็มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น"

ล้วงใจ น้องเบียร์ ไม่อายมีแม่เป็นภารโรง เผยทำอาชีพอะไรก็แม่เรา!


ข่าวแนะนำ