TNN "Gen Beta" เจนแห่งความหวัง หรือโลกควรกังวล แล้วเราพร้อมดูแลพวกเขาแค่ไหน?

TNN

TNN Exclusive

"Gen Beta" เจนแห่งความหวัง หรือโลกควรกังวล แล้วเราพร้อมดูแลพวกเขาแค่ไหน?

Gen Beta เจนแห่งความหวัง หรือโลกควรกังวล แล้วเราพร้อมดูแลพวกเขาแค่ไหน?

Gen Beta: เจนแห่งความหวัง หรือ เจนที่โลกควรกังวล? แทนที่จะเถียงเรื่องที่มา อุปนิสัยเด็กในอนาคต ความรู้ สภาพสังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม เราควรดูก่อนไหมว่า เราพร้อมเลี้ยงดูพวกเขาหรือเปล่า

Gen Beta: เจนแห่งความหวัง แต่สังคมไทยพร้อมหรือยัง?

คำถามสำคัญ คือ “ผู้ใหญ่อย่างเราพร้อมแค่ไหนที่จะสร้างสภาพแวดล้อมให้พวกเขาอยู่รอดได้?”


การก้าวเข้าสู่ปี 2025 คือ จุดเริ่มต้นของ Gen Beta (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 2025-2039) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างลึกซึ้งจากเจนก่อนหน้า 

ในมุมหนึ่ง พวกเขาถูกมองว่าเป็น “เจนแห่งความหวัง” ด้วยความฉลาด ความชำนาญในการใช้ AI และความใส่ใจสิ่งแวดล้อม  แต่ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาจะเผชิญโลกที่เต็มไปด้วยปัญหาระดับโลก ทั้งสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ความเหลื่อมล้ำรุนแรง และความเปราะบางทางจิตใจ

คำถามสำคัญ คือ “ผู้ใหญ่อย่างเราพร้อมแค่ไหนที่จะสร้างสภาพแวดล้อมให้พวกเขาอยู่รอดได้?”

ข้อมูลต่อไปนี้ ผู้เขียนมีโอกาสสัมภาษณ์  รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ได้อธิบายให้เราได้เข้าใจถึงอุปนิสัย เด็ก Gen Beta และ ความกังวลในอนาคต ที่พวกเราควรเตรียมพร้อมไว้ดูแลพวกเขาก่อนมากขึ้น 

อุปนิสัยที่คาดการณ์ได้ของ Gen Beta 

ข้อมูลนี้มาจาก MC Crindle  หรือ  สมาคมอุตสาหกรรมโลก จะวัดพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทุก 15-20 ปี  สำหรับภาคธุรกิจว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไรให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้คาดการณ์ลักษณะเด่นของเจนนี้จากข้อมูลเชิงพฤติกรรม เช่น

มีความฉลาดและชำนาญเทคโนโลยีขั้นสูง ใช้ AI ในการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกับหุ่นยนต์  มีแนวโน้มเป็น Introvert สามารถทำงานลำพังบนโลกออนไลน์ได้

- เปราะบางทางจิตใจขั้นสุด เนื่องจากการพึ่งพาโซเชียลมีเดียและการแข่งขันสูง

- ทักษะชีวิตและสังคมอ่อนแอ แต่มีความตระหนักเรื่องภัยออนไลน์และสิ่งแวดล้อม

โลกแบบไหน ที่ Gen Beta จะต้องเผชิญ?

1. การใช้ชีวิตร่วมกับหุ่นยนต์

ไม่ใช่แค่เครื่องมือ แต่จะอยู่ร่วมในชีวิตประจำวัน มีหน้าตาเป็นคน เพราะหมอเห็นมาแล้วบนเวที  ICP  หรือ International Congress of Psychology ที่โยโกฮาม่า ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และ ช่วยงานเฉพาะด้านของมนุษย์  เช่น ครูหุ่นยนต์สำหรับเด็กออทิสติก ออกแบบมาให้มีลักษณะอ่อนนุ่ม น่ากอด สร้างความอบอุ่นและกระตือรือร้นให้กับพวกเด็กๆ ความสามารถที่ไร้ที่ติ มาพร้อมความท้าทายที่สำคัญว่า แล้วมนุษย์ในอนาคตจะมีบทบาทเหนือหุ่นยนต์ได้อย่างไร?

2. คุณธรรมสำคัญกว่าความฉลาด

การวัดผลความดี หรือ คุณธรรมยังไม่ถูกพัฒนาให้ชัดเจนเหมือนเกณฑ์วัดด้านความฉลาด   จากสภาพโลก ณ ปัจจุบัน เราคงเห็นแล้วว่า คนฉลาด อาจไม่ได้ช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกใบนี้ดีขึ้นได้ 

ปัญหาภาวะโลกร้อนในรุ่นพ่อแม่ ทำให้คนเจน Z  เบื่อหน่าย หดหู่ใจที่ทำอะไรไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปสู่ รุ่นลูกรุ่นหลานให้แสวงหา โลกที่ดีกว่าเดิม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

3. การศึกษาออนไลน์ ไร้พรมแดน เกิดภาวะ สมองไหลข้ามประเทศ (Brain Drain)

เมื่อการศึกษาไทยปรับตัวไม่ทัน พวกเขาจะเรียนผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด สามารถจบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกได้จากที่บ้าน เกิดภาวะสมองไหไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศไหนปรับตัวไม่ทัน ก็จำต้องขับเคลื่อนประเทศ ผ่านแรงงานไร้ทักษะ หรือ non skills base labour ต่อไป 

4. ภัยโลกร้อนและทรัพยากรโลกที่ถดถอย

หากเราไม่ปลูกฝังให้พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ตอนนี้ ปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นในอนาคต เพราะที่ดินจะหมด ทุกคนจะหันไปใช้แบบ Full water resouce จากมหาสมุทรแทน เช่น ก่อสร้างเกาะ สนามกอล์ฟ กลางทะเล 

5. ความเปราะบางทางจิตใจรุนแรงยิ่งขึ้น 

แม้มีความฉลาดสูง แต่จิตใจอ่อนไหวคือจุดเด่นที่น่ากังวลของ Gen Beta พวกเขาเติบโตมา ท่ามกลางความโดดเดี่ยวและการแข่งขันยิ่งขึ้น จึงต้องการตัวช่วยทางจิตใจที่แข็งแกร่งกว่าที่มีในปัจจุบัน

เราพร้อมแค่ไหนสำหรับ Gen Beta?

แม้ Gen Beta จะมีศักยภาพเปลี่ยนแปลงโลก แต่สิ่งนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากเรายังปล่อยให้ปัญหาเดิม ๆ ดำเนินต่อไป

- ปฏิรูประบบการศึกษาไทย ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเน้นวัดแต่ความฉลาดแต่ไม่ได้พัฒนาคุณภาพพลเมืองทั้งประเทศ  ใช้ระบบ “แพ้คัดออก”  ทั้งที่จริงทักษะชีวิต ก็สำคัญไม่แพ้กัน ทำไมเราไม่ทำให้ทุกคน มีที่ยืนได้ด้วยความสามารถที่หลากหลายของตัวเอง สิ่งนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างระบบคุณธรรมที่วัดผลได้จริง เช่น “เกียรตินิยมคุณธรรม ” ขึ้นมา
 

- สร้างแผนพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เน้นพัฒนาสังคม ควบคู่กับ เศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองผ่านแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจโดยสภาพัฒน์ฯ ที่สำคัญต้องนำมาสู่การปฏิบัติได้จริง

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการร่วมกันได้แล้ว 2 ปีนี้ สภาพัฒน์ฯ ควรนั่งคุยกันได้แล้ว ว่าเราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ โรงเรียน สังคม สามารถเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างฉลาด ควบคู่คุณธรรม โดยที่มี A สอดแทรกอยู่ทุกอนูในชีวิต ปัญหาโลกเดือดที่พวกเขาจะต้องเผชิญ ที่สำคัญคือแผนต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และอยากให้เปลี่ยนชื่อเป็น แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจฯ แทน เพราะมิติการพัฒนาสังคมที่ผ่านมาของไทยอ่อนมาก กับการพัฒนาคุณภาพพลเมือง เศรษฐกิจเราแย่ตามไปด้วย ” 


ยกตัวอย่างกรณีคุณหมอ สร้างดัชนีชี้วัดคุณธรรมขึ้นมา เป็นประเทศแรกๆของโลก แต่กลับไม่สามารถใช้วัดผู้คนในแต่ละพื้นที่ได้จริง คล้ายกับ 3 หน่วยงานภาครัฐ  คือ  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (คนกำหนดแผนนโยบาย) สำนักงบประมาณฯ(ผู้ให้งบประมาณแก่ภาครัฐ) และ สำนักงานพัฒนาระบบราชการ(คนดูแลตัวชี้วัดหน่วยงานต่างๆ)  ไม่ค่อยได้พูดคุยกัน สุดท้ายแม้มีแผนดี แต่ก็ไม่มีคนยิงเข้าประตู 

สื่อควรนำเสนอเนื้อหาที่ให้ประโยชน์ มากกว่า มุ่งเน้นดราม่ามุมเดียว

“ที่ผ่านมาหมอให้ความสำคัญกับพี่น้องสื่อมวลชนก่อนเสมอ แต่หลายครั้งที่สื่อมาขอสัมภาษณ์ และ มักนำเสนอข่าวสารที่ไม่ได้เสริมคุณภาพชีวิตผู้คน เข้าใจว่าทำไปเพื่อเลี้ยงชีพ อยู่รอดเชิงพาณิชย์ แต่ถ้าตบท้ายในส่วนข้อคิดเห็นของหมอ ที่เป็นประโยชน์กับสังคมแทรกไปด้วย มันน่าจะดีกับสังคมมากกว่า การตีแผ่เพียงแค่ประเด็นในส่วนดราม่าเพียงอย่างเดียว เพราะหลายๆครั้ง หมอจะมี Hint point ที่จะเป็นประโยชน์ได้ด้วย แต่กลับไม่ถูกนำเสนอมันก็น่าเสียดายจริงๆ” 

สุดท้ายแล้วผู้เขียนมองว่า  Gen Beta มีโอกาส และ ศักยภาพที่จะเป็นผู้สร้างอนาคตที่ดีกว่าปัจจุบันได้ แต่หากพวกเรายังละเลยแก้ไขปัญหาโลกร้อน วางระบบโครงสร้างการศึกษาที่เอื้อพัฒนาคนดีและคนเก่ง ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาอาจกลายเป็นเจนที่ “เปราะบางที่สุด “  แทนที่จะเป็นความหวังอันสดใส ให้กับพวกเราในอนาคต 

เขียนโดย: จ๊ะโอ๋ ณัฎฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง