TNN แท่งไฟ ธง และเพลง K-POP ชวนดูเบื้องหลังความหมา่ยสีสันการชุมนุมเกาหลีใต้

TNN

TNN Exclusive

แท่งไฟ ธง และเพลง K-POP ชวนดูเบื้องหลังความหมา่ยสีสันการชุมนุมเกาหลีใต้

แท่งไฟ ธง และเพลง K-POP ชวนดูเบื้องหลังความหมา่ยสีสันการชุมนุมเกาหลีใต้

การชุมนุมขับไล่ ปธน.ยุน ซ็อก-ยอล ในเกาหลีไม่ได้เป็นไปอย่างขึงขัง แต่กลับมีการใช้วัฒนธรรมอย่าง K-POP จนถูกคนมองว่า เหมือนมางานคอนเสิร์ตมากกว่าการชุมนุม การใช้สัญลักษณ์และอุปกรณ์เหล่านี้ ก็ไม่ได้มีแค่สร้างสีสันเท่านั้น แต่กลับมาความหมายต่อการเรียกร้องประชาธิปไตยในขบวนการชุมนุมครั้งนี้ด้วย

นับตั้งแต่ประธานาธิบดียุน ซ็อก-ยอลประกาศกฎอัยการศึกเมื่อคืนวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา แม้ว่ากฎอัยการศึกจะถูกยกเลิกภายหลัง แต่ประชาชนต่างก็ออกมาแสดงความไม่พอใจ และเกิดการชุมนุมขับไล่ ปธน.ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 
ภาพการชุมนุมในเกาหลีครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปอย่างขึงขัง และตึงเครียดแต่อย่างใด แต่กลับมีการใช้วัฒนธรรมอย่าง K-POP ไม่ว่าจะเพลง หรือแท่งไฟ รวมไปถึงธงขององค์กรต่างๆ ที่ต่างกลายเป็นมีม และดึงความสนใจจากผู้คนได้มากมาย จนหลายคนมองว่า เหมือนมางานคอนเสิร์ตมากกว่าการชุมนุม 


แต่ถึงอย่างนั้น การใช้สัญลักษณ์และอุปกรณ์เหล่านี้ ก็ไม่ได้มีเพื่อความขำขัน หรือแค่สร้างสีสันเท่านั้น แต่กลับมาความหมายต่อการเรียกร้องประชาธิปไตยในขบวนการชุมนุมครั้งนี้ด้วย 


แท่งไฟเชียร์ไอดอล 
เป็นเหมือนธรรมเนียมของเกาหลีใต้ที่ในการชุมนุมต่างๆ ผู้ชุมนุมมักใช้เทียนเป็นอุปกรณ์ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวต่อสู้กับความอยุติธรรมอย่างสันติ ซึ่งในการชุมนุมขับไล่ปธน. ครั้งล่าสุด ในยุคของ อดีต ปธน.ปาร์ก กึนฮเย ผู้ชุมนุมก็ใช้เทียนจนการเคลื่อนไหวในครั้งนั้นถูกเรียกว่า The Candlelight Movement เช่นกัน


และในการชุมนุมครั้งนี้ นอกจากเทียนแล้ว เหล่าแฟนคลับ K-POP ด้อมต่างๆ ก็เอาแท่งไฟเชียร์ของวง ซึ่งสามารถเปิดไฟ และส่องสว่างได้มาใช้แทนเทียนด้วย และเขียนข้อความอย่าง ‘ถอดถอน ปธน.’แปะไว้บนแท่งไฟด้วย โดยคิม โดฮอน นักวิจารณ์เพลงก็ให้สัมภาษณ์ว่า ข้อดีของแท่งไฟเชียร์คือแข็งแรง และทนทาน ทั้งยังมีแสงส่องสว่างมาก และสะดวกขนาดพกพา จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ประจำการชุมนุมได้ง่ายๆ ซึ่งแฟนคลับด้อมต่างๆ เองต่างก็บอกว่า พวกเขาดีใจที่ได้หยิบแท่งไฟมาใช้ในโอกาสแบบนี้ 

สเตฟานี ชเว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่บัฟฟาโล ยังวิเคราะห์ถึงปรากฎการณ์นี้ว่า แท่งไฟยังคงสะท้อนถึง “พลังแห่งความสามัคคีในขณะที่ยังคงความหมายดั้งเดิมของการไม่ใช้ความรุนแรง” ด้วย 
ด้านแฟนคลับวงไอดอลเสมือนจริงอย่างวง Plave หนึ่งในผู้ร่วมชุมนุม และใช้แท่งไฟ ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า สำหรับเธอ เธอคือพลเมืองเกาหลีก่อนที่จะเป็นแฟนคลับไอดอล เธอจึงเห็นความสำคัญของการชุมนุม ขณะที่ไอดอลบางคนเอง ก็ได้โพสต์ภาพเข้าร่วมการชุมนุม เช่น โอลิเวีย ฮเย วง Loona ซึ่งเธอก็บอกว่า เธอเป็นพลเมืองชาวเกาหลี ก่อนจะเป็นไอดอล ดังนั้นเธอเชื่อในการแสดงความเห็นทางการเมือง  


และนอกจากแท่งไฟแล้ว ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แฟนคลับไอดอล ยังเอาอุปกรณ์ต่างๆ ที่ส่องสว่าง มีไฟได้ หรือสามารถถือได้ มาประดิษฐ์และเอามาถือกันในการชุมนุมเช่นกัน


เพลง K-POP
แท่งไฟก็มีแล้ว เพลง K-POP ก็ถูกเปิดในการชุมนุมด้วย โดยบางเพลงมีการเปลี่ยนเนื้อเรื่องเป็นประโยคทางการเมือง เช่นถอดถอนประธานาธิบดี หรือ จงลาออก ให้เข้ากับจังหวะของเพลงด้วย โดยเพลงที่ถูกเปิดนั้น มีทั้ง Crooked ของ G-Dragon, Whilplash ของ aespa หรือ Welcome to the show ของ Day6 เป็นต้น


แม้ว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรม K-POP จะขึ้นชื่อเรื่องการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และเพลงเคป๊อปหลายเพลงที่เล่นในการประท้วงถอดถอนประธานาธิบดี ทำให้ผู้ชุมนุมรู้สึกมีส่วนร่วม และเข้าถึงง่าย หนึ่งในผู้ชุมนุมเองก็ให้สัมภาษณ์ว่า “การชุมนุมครั้งก่อนๆ อาจรุนแรงและน่ากลัวเล็กน้อย แต่แท่งไฟและเคป๊อปได้ลดอุปสรรคลง และด้วยเหตุนี้ ฉันคิดว่าผู้คนได้สัมผัสถึงความสามัคคีที่นี่และได้ใช้แท่งไฟ” 

นักวิจารณ์เพลง คิมโดฮอนเองก็พูดถึงประเด้นนี้เช่นกันว่า “ตอนนี้ เคป็อปเป็นเพลงที่สามารถดึงดูดคนทุกเจเนอเรชันได้ทันที นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมแฟน K-POP จำนวนมากจึงมารวมตัวกันที่การประท้วง และผู้นำการประท้วงก็ใช้เพลง K-POP” 


การชุมนุมครั้งนี้เอง ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เพลง K-POP ถูกเอามาใช้ เพราะตั้งแต่การชุมนุมใน มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวาในปี 2016 ที่นำไปสู่การเปิดโปงการทุจริตของอดีต ปธน.ปาร์ก กึนฮเย เพลง Into The New World ของ Girl’s Generation ก็กลายเป็นเพลงประจำการประท้วงด้วย 


ธงสมาคม/องค์กรต่างๆ 
“กองทหารประชาชนโอตาคุถือแท่งไฟ”
“สมาคมนักเขียนแนวโรแมนติกแฟนตาซีที่วิ่งออกมาประท้วงแทนที่จะเขียนต้นฉบับให้เสร็จ”
“สหพันธ์คนนอนอยู่บ้านทั่วประเทศ”
“สหพันธ์มอนสเตอร์สปาเก็ตตี้บินได้”
“สมาคมคนยังเรียกแอปฯ x ว่าทวิตเตอร์”


นอกจากแท่งไฟแล้ว สีสันของการชุมนุมในครั้งนี้คือธงของสมาคม หรือสมาพันธ์ต่างๆ ที่ผู้ชุมนุมนำมาถือในงาน ที่มีทั้งชื่อสมาคมตลกๆ ที่ตั้งขึ้นมา สมาคมที่สะท้อนงานอดิเรก หรือความชอบต่างๆ แต่ธงเหล่านี้ ไม่ได้มีขึ้นเพื่อความตลกอย่างเดียวเท่านั้น 


การเกิดขึ้นของธงเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการแซะ และจิกกัดรัฐบาล จากการชุมนุมประท้วง อดีต ปธน.ปาร์ก กึนฮเยในปี 2016 ฝั่งรัฐบาลในตอนนั้นได้กล่าวอ้างว่า ผู้ชุมนุมมีกลุ่มการเมืองลับ และองค์กรต่างๆ อยู่เบื้องหลังการชุมนุม ดังนั้นเพื่อเป็นการล้อเลียนรัฐบาลที่มองว่า การชุมนุมของประชาชนมีเบื้องหลัง ผู้ชุมนุมจึงสร้างธงต่างๆ จากองค์กร และสมาคมปลอมๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นการล้อเลียนรัฐบาล และกลายเป็นสีสันของการชุมนุมขึ้นมาด้วย
 

อ้างอิงจาก 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง