TNN อายุน้อยก็เสี่ยง "พาร์กินสัน" ?

TNN

TNN Exclusive

อายุน้อยก็เสี่ยง "พาร์กินสัน" ?

อายุน้อยก็เสี่ยง พาร์กินสัน ?

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งจะส่งผลให้สารโดปามีนในสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลดลงและเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติตามมา ส่วนมากเกิดในผู้สูงอายุ แต่อายุน้อยก็เสี่ยง เป็น"พาร์กินสัน" ได้ ข่าวนี้จริงไหม ? TNNExclusive จะพาไปหาคำตอบ

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า อายุน้อยก็เสี่ยง "พาร์กินสัน" ได้ เป็นเรื่องจริง

อายุน้อยก็เสี่ยง พาร์กินสัน ?


"ผู้ป่วยพาร์กินสันในประเทศไทยส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 ปี แต่พบว่าประมาณ 10% ของผู้ป่วยพาร์กินสันโดยรวม มีอาการก่อนอายุ 50 ปีหรือที่เรียกว่ากลุ่มพาร์กินสันอายุน้อย เป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน" 


อายุน้อยก็เสี่ยง พาร์กินสัน ?

ผู้ป่วยพาร์กินสันอายุน้อย ได้รับการวินิจฉัยล่าช้าและไม่ถูกต้อง 


ผู้ป่วยพาร์กินสันอายุน้อย อาจจะได้รับการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยอายุน้อยมักจะมาด้วยอาการแข็งเกร็ง ไม่สั่น ทำให้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome ) จึงทำให้ได้รับการรักษาล่าช้า แต่หากได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง จะสามารถสังเกตอาการได้ โดยพาร์กินสัน มักจะมีอาการข้างเดียว แต่ออฟฟิศซินโดรม ส่วนมากจะมีอาการพร้อมกันทั้งสองข้าง หากตรวจเพิ่มเติม พาร์กินสันอาจพบอาการข้างเคียงอื่น เช่น ภาวะการเคลื่อนไหวช้า ได้กลิ่นลดลง ท้องผูกเรื้อรัง นอนละเมอ  เป็นต้น


อายุน้อยก็เสี่ยง พาร์กินสัน ?


"ถ้าเป็นเรื่องความเสื่อมของระบบประสาท หากเป็นแล้วอาการจะไม่หายไป จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา" 


ศ.นพ.รุ่งโรจน์ ระบุว่า กลุ่มพาร์กินสันอายุน้อยมักตอบสนองกับยาดี แต่ต้องกินอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ควบคู่กับการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้นอีก 20% 



TNN Exclusive 

เรียบเรียงโดย : ธัญรมณ ไพศาลสุนทรกิจ 

ผู้สื่อข่าว คอลัมน์ ข่าวนี้จริงไหม ?


ภาพจาก


getty images

ช่างภาพTNN ช่อง16

ข่าวแนะนำ