"โอลิมปิก 1992" ต้นกำเนิดตรวจโครโมโซม Y เพื่อยับยั้ง “ผู้ชาย” สวมรอยแข่ง “ผู้หญิง” | Chronicles
อิมาน เคลิฟ นักชกแอลจีเรียมีโครโมโซม Y ของผู้ชาย และเคยตรวจเพศไม่ผ่านมาก่อนหน้านั้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด กระบวนการ “ตรวจโครโมโซม Y” ในปี 1992 ทำให้เราสามารถ Verify เพศของนักกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิกได้ มิเช่นนั้น ประเด็นเรื่องเพศอาจจะสร้างความปวดหัวมากกว่านี้
เป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องในโอลิมปิก 2024 กรณี “อิมาน เคลีฟ (Imane Khelif)” นักชกชาวแอลจีเรียที่ถูกวิจารณ์ว่ามีกำลังวังชา กล้ามเนื้อ และมวลกายออกไปทางผู้ชาย ทำให้คู่แข่งขอยอมแพ้ด้วยเวลาเพียง 46 วินาที
กรณีนี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมาย พร้อมการประกาศกร้าวจาก IBA ว่า เคลิฟ คือ มีโครโมโซม Y ของผู้ชาย และเคยตรวจเพศไม่ผ่านมาก่อนหน้านั้น
เรื่องนี้ผู้คนถกเถียงไปต่าง ๆ นานา แต่ในยุคสมัยนี้ที่เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การกีฬาพัฒนาไปไกลมาก ๆ จนสามารถที่จะตรวจเพศนักกีฬาได้ภายในวันเดียว เหตุใดคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) จึงยินยอมให้เคลีฟแข่งขันได้ ?
เหนือสิ่งอื่นใด กระบวนการ “ตรวจโครโมโซม Y” ในปี 1992 ทำให้เราสามารถ Verify เพศของนักกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิกได้ มิเช่นนั้น ประเด็นเรื่องเพศอาจจะสร้างความปวดหัวมากกว่านี้
ย้อนไปในปี 1968 ตอนนั้น กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก และเริ่มนำการตรวจร่างกายเพื่อทดสอบว่ามีการ “ปลอมเพศ (Imposter)” ของเพศชายเข้ามาแข่งขันในกีฬาประเภทหญิงหรือไม่ เพราะสมัยก่อน ไม่ได้มีการตรวจเพศจริงจัง ขอเพียงบอกว่าตนนั้นเป็นหญิง ก็แข่งขันได้
วิธีการตรวจนั้น อ้างอิงจาก “เอกสารรับรองทางราชการ” ที่ประเทศนั้น ๆ ออกให้นักกีฬา หรือก็คือ IOC ไม่ได้เข้าไปตรวจด้วยตนเอง แต่อาศัยว่ารัฐบาลต้นทางรับรองมาแล้วว่าเป็นเพศใด
เลยเป็นปัญหาว่า รัฐบาลในบางครั้ง ก็ไม่สามารถระบุเพศของบุคคลที่ “ไม่สามารถระบุเพศได้ (Unidentified Sex)” เพราะมีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิงในคนเดียวกัน ทำให้ทางออกง่าย ๆ คือการดำเนินการทางเอกสารอย่างหละหลวม ระบุเพศใดเพศหนึ่งไปก่อน เพื่อให้ทะเบียนราษฎร์ผ่าน
จนกระทั่งยุค 1970 - 1980 การเรียกร้องสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กลายเป็นที่ถกเถียงมากขึ้น เพราะมีการเรียกร้องเพศที่ไม่ใช่ตามสูติบัตร แต่อยู่ที่ว่า เราจะเลือกเป็นเพศใด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถระบุเพศได้ ยิ่งสามารถเลือกได้เลยว่าตนนั้นจะเป็นเพศใดแบบไม่ตามทะเบียนราษฎร์
เรื่องนี้ ทำให้รัฐบาลบางครั้งอาศัยช่องตรงนี้ ส่งบุคคลที่กำหนดว่าตนนั้นเป็นผู้หญิง แต่จริง ๆ มีความเป็นชายมากกว่า โดยแสดงออกมาผ่าน “สิ่งที่อยู่ภายใน” เช่นมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแกร่ง หรือพันธุกรรม เข้ามาแข่งขันกับผู้หญิงในโอลิมปิก
ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ปี 1992 ที่มีการจัดโอลิมปิก 2 ที่ (โอลิมปิกฤดูร้อนที่บาร์เซโลนา และฤดูหนาวที่อัลเบิร์ตวิลล์) จึงได้เริ่มนำการ “ตรวจโครโมโซม Y” เข้ามา ด้วยเหตุผลว่า ในเมื่อไม่ค่อยมีบุคคลข้ามเพศที่มีความเป็นหญิงเข้ามาแข่งขันกับผู้ชาย แต่มีบุคคลข้ามเพศที่มีความเป็นชายไปแข่งกับผู้หญิงจำนวนมาก การตรวจโครโมโซมเพศชายจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
แน่นอนว่า สิ่งนี้ช่วยให้เกิด “ความยุติธรรม (Fairness)” ในการแข่งขันได้ประมาณหนึ่ง เพราะในระดับพันธุกรรมแล้ว เป็นสิ่งที่ติดตนมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะ Identified ตนเองว่าเป็นเพศใด ๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกหนีไปได้
ทั้งนี้ การตรวจโครโมโซมไม่สามารถตอบโจทย์ “บุคคลแปลงเพศ” ที่ต้องการจะลงแข่งขันตามเพศที่แปลง เพราะถึงจะตัดเครื่องเพศออก โครโมโซมก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตาม
ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตรวจโครโมโซม แต่อยู่ที่ “การบังคับใช้ (Obligation)” อย่างเป็นมาตรฐานของ IOC เพื่อไม่ให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดกรณีนี้ไม่ตรวจ เหตุใดกรณีนี้ละเลย หรือเหตุใด ความยุติธรรมจึงเกิดขึ้นกับบางบุคคลเท่านั้น ?
Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [Hayden Whiz]
แหล่งอ้างอิง
- บทความ "Personal Account: A Woman Tried and Tested"
- บทความ Sex, health, and athletes
- บทความ Natural Selection for Genetic Variants in Sport: The Role of Y Chromosome Genes in Elite Female Athletes with 46,XY DSD
#TNNParis2024 #TNNOnline #ปารีส2024 #โอลิมปิก2024 #Paris2024 #OlympicGames2024 #OlympicGamesParis2024 #ตรวจเพศ #มวยสากลสมัครเล่น #อิมานเคลีฟ #แจ่มจันทร์
—————————
ติดตามคอนเทนต์ดี ๆ จาก TNN
ได้ที่ช่อง YouTube: TNN Originals
ทางนี้ https://bit.ly/TNNOriginals
ข่าวแนะนำ